สภาผู้บริโภค จับมือพรรคการเมือง และนักวิชาการ แลกเปลี่ยนการตรวจสอบ การควบรวมกิจการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตบ้าน เพื่อพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค

สภาผู้บริโภค ผิดหวัง จี้ กสทช. ลาออก ไร้ประสิทธิภาพคุ้มครองผู้บริโภค ปล่อยควบรวมผูกขาดกิจการ ตัวแทนพรรคการเมือง นักวิชาการ เห็นด้วย ตรวจสอบละเลยปฏิบัติหน้าที่ พร้อมขอรัฐเปิดเสรีโทรคมนาคม ทางเลือกใหม่ผู้บริโภค

จาก กสทช. มีมติรับทราบการควบรวมทรู – ดีแทค และ AWN ในเครือ AIS – 3BB เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 65 และ วันที่ 10 พ.ย. 65 ตามลำดับ สภาผู้บริโภคเริ่มเห็นสัญญาณของผู้บริโภคที่สะท้อนผ่านสื่อ Social Media และการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มมากขึ้น ทั้งกรณีควบรวมธุรกิจ ทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกบริการน้อยลง เกิดปัญหาทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ต้องจ่ายค่าบริการสูงขึ้น นั้น

วันนี้ (13 ธันวาคม 2566) สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้จัดกิจกรรมเวที  “ทอล์ก ทู แอ็กชัน (Talk 2 Action) ในหัวข้อ “การตรวจสอบ การควบรวมกิจการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตบ้าน ทำได้? เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการตรวจสอบ การควบรวมธุรกิจโทรคมนาคม โดยมี นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค เป็นประธานกล่าวเปิดงาน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรผู้บริโภค ร่วมกับ ผู้แทนพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนพรรคการเมืองฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา นักวิชาการ องค์กรอิสระ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนความเห็นบนเวที Talk 2 Action เพื่อนำความเห็นประกอบเป็นข้อมูลออกมาตรการ และบังคับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กลไกตรวจสอบของรัฐสภา

ในโอกาสนี้ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เสนอต่อ กสทช. ทบทวนมติการควบรวมกิจการทั้ง 2 กรณีเพราะเอื้อประโยชน์ต่อกิจการของเอกชน เปิดทางนำไปสู่การผูกขาดกิจการ อีกทั้งยังละเลยในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคและขอให้เร่งติดตามมาตรการเฉพาะหลังการควบรวม นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอด้านการแข่งขันที่ต้องพัฒนายกระดับการแข่งขัน เช่น ปรับโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนงบประมาณ ส่งเสริมผู้ให้บริการรายใหม่เข้าสู่ตลาด ส่งเสริมให้มีบริการไวไฟและอินเตอร์เน็ตสาธารณะให้มากขึ้น รวมถึง ขอให้มีการเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคม เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้บริโภค โดยให้ TDRI และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศึกษาวิจัยความเป็นไปได้และมี Application ของหน่วยงานภาครัฐตรวจสอบคุณภาพสัญญาณมือถือและอินเทอร์เน็ต

ขณะที่เวที Talk 2 Action ในหัวข้อ “การตรวจสอบ การควบรวมกิจการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตบ้าน ทำได้? ตัวแทนพรรคการเมืองจากพรรคไทยสร้างไทย นายปริเยศ อังกูรกิตติ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ยอมรับรู้สึกผิดหวังกับการควบกิจการที่เกิดขึ้นเพราะทำให้ค่าบริการสูงแต่กลับได้คุณภาพบริการลดลง และเมื่อไม่สามารถในการยับยั่งการควบรวมได้ ในวันนี้จึงขอเรียกร้องไปยัง กสทช.ใช้อำนาจที่มีให้มีการออกประกาศราคาค่าบริการกลาง หรือราคาที่ควรจะเป็นทั้งโทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ตบ้าน  ตามที่จะปรับลดราคาลง 12 % ซึ่งประเด็นนี้ พรรคไทยสร้างไทยยินดีร่วมผลักดัน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีขึ้น ราคาที่ถูกลง โดยที่ กสทช. มีอำนาจทำได้ทันที

ด้าน นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์​  ระบุว่า อำนาจหน้าที่ของ กสทช.ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ใช้คลื่นความถี่อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด ใน 2 กรณี เป็นการเลี่ยงการใช้อำนาจของ กสทช.ซึ่งการออกข้อกำหนดหลังควบรวมกิจการ มติที่เกิดขึ้นในการผลักดันให้การใช้กฎหมายทุกรูปแบบเพื่อให้เกิดการเลี่ยงที่จะใช้อำนาจ เพื่อขจัดผู้ขาดทางเศรษฐกิจ

นายชาญวิทย์​​  โวหาร คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สะท้อนปัญหาที่จากการศึกษาพบว่า หลังการควบรวม ยังไม่พบการให้บริการที่ไม่เป็นไปตามประกาศมาตรการ 5 ข้อหลัก ทั้งการลดราคา 12% โปรโมชั่นที่ออกมาต่างเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด ไม่เป็นการลดราคาโดยเฉพาะโปรโมชั่นเพื่อผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และยังไม่พบผลการตั้งคณะกรรมการศึกษาจากผลกระทบดังกล่าวทำให้เห็นด้วยที่จะต้องมีการทบทวนอำนาจที่แท้จริงของ กสทช. หากปล่อยไว้จะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากการผูกขาด และความผิดหวังว่าจะได้รับการบริการที่ดีขึ้น 

ด้าน นักวิชาการ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้ตั้งคำถามถึงการควบรวมกิจการขนาดใหญ่ หรือไม่เพราะมีทั้งประโยชน์และความเสี่ยง การควบรวมควรเกิดประโยชน์มากกว่า แต่การควบรวมที่มีโครงสร้างเชิงผูกขาด ภาครัฐ ควรพิจารณาเพื่อไม่ให้เอาเปรียบประชาชน เกิดความเสี่ยงทำให้ผู้ประกอบการกระจุกตัว มีความเสี่ยงเกิดมีการขายข้ามตลาด บริษัทคู่แข่งไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ ซึ่งเชื่อว่าเอกชนมีแผนธุรกิจขายข้ามตลาด โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็​ต ซึ่งเป็นการต่อยอดการควบรวม ยิ่งไม่ปฎิบัติตามการกำหนดเงื่อนไขลดราคา จึงมองได้ว่าเป็นการละเลยการคุ้มครองผู้บริโภค ควรระงับยับยั้งการควบรวมไว้ก่อน

สำหรับมุมมองของนักกฎหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์​ ดร.​ปริญญา​ เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์​ คณะนิติศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เห็นว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเป็๋น ปัญหาการทำหน้าที่และใช้อำนาจของ กสทช. ที่ปล่อยให้มีการควบต้องตรวจสอบอำนาจที่มีให้ชัดเจนว่าเป็นอย่างไร เพราะจาการรับทราบและอนุญาตให้เกิดการควบรวมกิจการใน 2 กรณีที่ไม่เหมือนกัน อีกทั้ง กสทช. ควรติดตามมาตการกำหนด โดยเฉพาะการลดราคา 12% หาก กสทช. เข้าข่ายการใช้อำนาจโดยมิชอบ ขณะที่ ฝ่ายนิติบัญญัติต้องทบทวนอำนาจ กสทช. เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบ 

ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมแสดงความเห็น โดยยืนยันว่า การปล่อยให้มีการควบคุมกิจการทั้ง 2 กรณี ของ กสทช. เป็นปัญหาขัดรัฐธรรมนูญและการกำจัดสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและใช้บริการ ทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในมาตรการของ กสทช. และสภาผู้บริโภคจะเดินหน้าปกป้องคุ้มครองผู้บริโภคให้ดีที่สุด 4 ข้อ คือ 1.เรียกร้องให้ กสทช.ลาออกจากจากการทำหน้าที่ เนื่องจากไร้ความสามารถไม่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค

2. เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคม ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค จากการผูกขาดข้างต้น และอยากเห็นบริษัทโทรคมนาคมจะออกมาร่วมเป็นผู้นำได้หรือไม่อย่างไร

3.เตรียมยื่นฟ้องต่อศาล กรณี AIS – 3BB ควบรวมกิจการภายในระยะเวลา 90 วัน (6 ก.พ. 67) และจะยื่นคุ้มครองชั่วคราวกรณี ทรู-ดีแทค 4.ตรวจสอบการทำหน้าที่ของ กสทช.ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

#สภาองค์กรของผู้บริโภค #สภาผู้บริโภค #ผู้บริโภค #TCC

#ทอล์กทูแอ็กชัน #Talk2Action

#การตรวจสอบการควบรวมกิจการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตบ้านทำได้?

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save