ไทย์แลนด์ 4.0 !! โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก สู่เขตการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดี

งานที่จัดอยู่ตอนนี้ Digital Thailand Big bang 2017 กระผมได้เข้าไปดูงานมาเมื่อวานนี้เป็นวันแรก และพบว่าการพัฒนา ไทยแลนด์ให้สู่ยุค 4.0 นั้นน่าสนใจมาก วันนี้เราจะมาอธิบายเรื่อง โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ  Eastern Economic Corridor กันครับ

จุดเริ่มต้นของ EEC มาจากอะไร?
EEC : Eastern Economic Corridor หรือ โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก เป็นแผนยุทธศาสตร์ต่างประเทศภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ที่ดำเนินมาตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา

โครงการนี้เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ด้วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 8% ต่อปีจนกระทั่งวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง จากการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม 32 แห่ง รองรับโรงงานกว่า 5,000 โรง การสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งแรกของไทยบริเวณแหลมฉบังและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ส่งผลให้พื้นที่ภาคตะวันออกกลายเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ ศูนย์การผลิตปิโตรเคมีที่มีขนาดใหญ่เป็น 1 ใน 5 ของเอเชีย และศูนย์กลางการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ หรือ “Detroit of the East” ด้วยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานเดิมนี้เอง ประกอบกันทำเลที่ตั้งที่มีความได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค รวมทั้งชื่อเสียงและมาตรฐานระดับโลก โครงการ EEC จึงเป็นความหวังใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศในยุคอุตสาหกรรม 4.0

เหตุใดเราจึงต้องให้ความสำคัญกับ EEC ในตอนนี้?
สถานการณ์เศรษฐกิจภูมิภาคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านการพัฒนาประเทศ ระบบคมนาคม และความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ASEAN Economic Community (AEC) ที่มีจุดมุ่งหมายผลักดัน ASEAN ให้เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมือได้อย่างเสรี ทำให้บริษัทต่างชาติมีตัวเลือกในการตั้งฐานการผลิตและกระจายสินค้ามากขึ้น ซึ่งในระยะต่อไปความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคจะยกระดับขึ้นอีกขั้น ซึ่งไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เชื่อมต่อมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย (East-West Economic Corridor) และเชื่อมต่อจีนตอนใต้เข้ากับภูมิภาคแหลมทอง (North-South Economic Corridor) ทำให้ไทยมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาคและการเป็นประตูสู่เอเชียได้

อย่างไรก็ตาม อีอีซีมองว่า เวียดนามจะผันตัวมาเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจที่ไทยต้องจับตามอง เพราะเวียดนามเป็นหนึ่งในเป้าหมายการลงทุนจากต่างชาติที่มีความโดดเด่น ด้วยข้อได้เปรียบด้านแรงงานจำนวนมากที่อายุยังน้อยและค่าแรงต่ำ ตำแหน่งที่ตั้งที่ติดกับจีนและเป็นประตูสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ตลาดผู้บริโภคที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง และนโยบายประเทศที่ชัดเจนในการก้าวขึ้นเป็น “โรงงาน” และ “ซิลิคอนวัลเลย์” ของเอเชีย

ในขณะที่ตัวขับเคลื่อนสำคัญของไทยอย่าง Eastern Seaboard กำลังหมดไฟ และอุตสาหกรรมที่ไทยมีความเชี่ยวชาญกำลังตกยุค ส่งผลให้ในปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติพิจารณาย้ายฐานการผลิตจากไทยไปยังเวียดนามแล้ว หนึ่งในนั้นได้แก่ Samsung Electronics Limited LG Electronics และ Daikin Industries Limited ดังนั้น หากไทยไม่เร่งพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศตั้งแต่วันนี้ มีความเป็นไปได้ว่าเวียดนามจะสามารถแซงหน้าไทยด้วยมูลค่า GDP ที่สูงกว่าในปี 2050

นอกจากนี้ ผลการประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันโดย IMD พบว่าประเทศไทยได้รับการจัดอันดับค่อนข้างดีที่ 28 จาก 61 ประเทศ แต่หากพิจารณาในตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมจะพบว่าไทยทำคะแนนได้ค่อนข้างต่ำ ในด้านผลิตภาพ (อันดับที่ 43) โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (อันดับที่ 47) และเทคโนโลยี (อันดับที่ 42) ซึ่งรายงาน Global Competitiveness Index 2016-2017 ของ World Economic Forum ให้ผลการประเมินในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ศักยภาพในการคิดค้นนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และแรงงานทักษะ มีการพัฒนาช้า เมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเดียวกัน และยังคงเป็นปัญหาหลักในการทำธุรกิจในไทยอีกด้วย ดังนั้น เพื่อทำให้ไทยกลับมามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลาง EEC จึงเป็นโครงการสำคัญที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทย

 

ในงาน Digital Thailand bigbang 2017 ยังมีอะไรที่น่าสนใจอีกมากเกี่ยวกับไทยแลนด์ 4.0  ไปชมงานกันได้ วันที่ 21-24 กันยายนนี้ ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ที่มา – Thailand automotive Institute

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save