ใยแมงมุม จะกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์ช่วยฟัง สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน

 

ออกจะเป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อที่มาจากการ์ตูนเรื่อง สไปเดอร์แมน ยังไงยังงั้น เมื่อทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Binghamton ประเทศสหรัฐอเมริกา บอกกับชาวโลกว่า พวกเขาค้นพบวิธีการนำใยแมงมุมมาเพิ่มคุณภาพการรับเสียงของไมโครโฟน สำหรับอุปกรณ์ช่วยฟังของผู้พิการทางการได้ยินรวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ ได้ด้วย และเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของเรื่องนี้ยิ่งน่าทึ่งเข้าไปใหญ่

ด้วยคุณสมบัติของเส้นใยแมงมุมที่มีความบางเป็นพิเศษ ทำให้เส้นใยมีความไวสูงถึงขนาดที่สามารถตรวจจับความเร็วของคลื่นเสียงในอากาศที่มาสัมผัสกับเส้นใยได้ ไม่ใช่แค่เพียงตรวจับความสั่นไหวของคลื่นเสียงเท่านั้น ทำให้สามารถรับรู้ได้ถึงย่านความถี่เสียงที่ต่ำเป็นพิเศษถึง 3 Hz (เฮิรตซ์) และเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพ มันก็คล้ายกับการที่เราสามารถได้ยินเสียงการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ในขณะที่เกิดแผ่นดินไหวนั่นเลยทีเดียว และด้วยความที่เส้นใยแมงมุมเป็นอุปกรณ์ช่วยฟังชั้นยอด ทำให้เจ้าแมงมุมใช้เส้นใยของมันเอง ในการดักฟังเสียงจากสภาพแวดล้อมว่ามีอะไรอยู่รอบๆ ตัวของมันบ้าง

และนักวิจัยจาก Binghamton ค้นพบวิธีที่จะแปลงความไวต่อคลื่นเสียงของใยแมงมุม เพื่อตรวจจับทิศทางของคลื่นเสียงที่เข้ามา จากนั้นทำการแปลงคลื่นเสียงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าที่สามารถนำไปใช้งานในอุปกรณ์ช่วยฟังสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งต้องมีการหุ้มเส้นใยแมงมุมด้วยทอง และนำเส้นใยไปวางอยู่ในสนามแม่เหล็ก เพื่อให้เส้นใยสามารถกำเนิดสัญญาณทางไฟฟ้าเมื่อมีคลื่นเสียงเข้ามากระทบ ทำให้เกิดเป็นไมโครโฟนรูปแบบใหม่ ที่มีช่วงการรับความถี่คลื่นเสียงที่กว้างเป็นพิเศษ

คุณ Ronald Miles ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Binghampton กล่าวว่า “สิ่งนี้ทำให้เราสามารถสร้างไมโครโฟนรูปแบบใหม่ ที่มีทิศทางการรับเสียงที่ชัดเจน และเป็นประโยชน์มากสำหรับการใช้งานกับอุปกรณ์ช่วยฟังสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งคุณภาพการรับเสียงจะดีกว่าไมโครโฟนแบบเดิมมากๆ เลย โดยในตอนนี้ ไมโครโฟนแบบรับเสียงเฉพาะทิศทาง (Directional microphone) นั้นคุณภาพการรับเสียงแย่มาก และมีช่วงความถี่การรับเสียงที่ไม่กว้าง และมันรับเสียงในย่านความถี่ต่ำได้ไม่ดีเอาซะเลย ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ เราสามารถสร้างไมโครโฟนแบบรับเสียงเฉพาะทิศทางที่คุณภาพเสียงดีเยี่ยม”

และตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการสร้างไมโครโฟนตัวต้นแบบ ควบคู่ไปกับการลองบันทึกเสียงจากไมโครโฟน เพื่อแสดงให้เห็นว่า ใยแมงมุมมีประสิทธิภาพดีแค่ไหนในการรับเสียง และจากข้อมูลที่ Ronald Miles บอก เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ได้บนอุปกรณ์หลายรูปแบบที่มีไมโครโฟนขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ช่วยฟัง, สมาร์ทโฟน รวมถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ และในแต่ละปีมีไมโครโฟนกว่า 2 พันล้านชิ้น ที่ถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้กลายเป็นการยกระดับเทคโนโลยีครั้งใหญ่เลยทีเดียว”

นอกจากนี้แล้ว เทคโลยีในโลกยุคใหม่ยังคันพบวิธีการนำเส้นใยแมงมุมไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การฟื้นฟูสภาพของเส้นประสาทหลังจากที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงการนำไปสร้างชุดเกราะที่มีความแข็งแรงสูง ทำให้เส้นใยแมงมุมเป็นวัตถุดิบที่มหัศจรรย์ และทรงคุณค่าของของปี 2017 เลยทีเดียว

 

ที่มา – news.thaiware.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save