ภาษีอีคอมเมิร์ซมาแล้ว !

“คลัง” เตรียมรอชง ครม. ชอปปิ้งออนไลน์ ห้างออนไลน์ ขายสินค้าบนเน็ต อีเพย์เมนต์ โฆษณาบนกูเกิล (Google) เสิร์ช เกมออนไลน์ เจอหมด ยันการจัดเก็บเป็นไปตามมาตรฐาน และเป็นธรรม

หลังมีข่าวมาพักใหญ่ ถึงการที่กรมสรรพากรได้เตรียมเรียกเก็บภาษีจากการทำธุรกจผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-คอมเมิร์ซ ล่าสุด ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น (ประชาพิจารณ์) เกี่ยวกับร่างกฎหมาย เรียกเก็บภาษีจากการทำธุรกิจผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-คอมเมิร์ซ

และหลังจากการรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรในเร็วๆ นี้ ประมาณ 15 วัน จากนั้นจะรวบรวมและสรุปรายละเอียดเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยยอมรับว่า ร่างกฎหมายมีความล่าช้ากว่าแผนเดิมที่จะเสนอ ครม.ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2560

ยืนยันการจัดเก็บจะเป็นไปตามมาตรฐาน และมีความเป็นธรรมอย่างแน่นอน นายประสงค์ กล่าว

สำหรับแนวทางในการจัดเก็บเบื้องต้น จะจัดเก็บจากธุรกรรมการซื้อขายสินค้าและการโอนเงินที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

การดำเนินธุรกิจบนนวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่อย่างระบบการทำธุรกิจผ่าน e-Payment และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ก็เข้าข่ายต้องชำระภาษี ซึ่งกฎหมายจะให้อำนาจสถาบันการเงินเป็นผู้จัดเก็บภาษี หัก ณ ที่จ่าย แทนกรมสรรพากร โดยเมื่อใดที่มีการโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ ทางสถาบันการเงินในไทยมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 5% เพื่อนำไปชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากร

ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการจัดเก็บภาษีได้พอสมควร เพราะมูลค่าการทำธุรกรรมบนธุรกิจออนไลน์สูงหลักล้านล้านบาท “ที่ผ่านมาไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ เพราะร้านค้าที่ตั้งขึ้นนั้น ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอย่างถูกต้อง เป็นการโอนเงินไปยังบุคคลถึงบุคคลเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ แต่ข้อมูลพบว่ากลุ่มออนไลน์เติบโตเร็วมาก ทำให้ต้องหาช่องทางปิดรูรั่วการจัดเก็บ” ประสงค์ กล่าว

SOURCE : positioningmag

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save