พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ที่ไม่ได้อยู่ถนนพระรามเก้า
พิพิธภัณฑ์พระรามเก้านี้ตั้งอยู่ที่ เทคโนธานี คลองห้า ซึ่งอยู่ใกล้กับอาคารลูกเต๋าหรือ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์นี่เอง โดยพิพิธภัณฑ์นี้แบ่งเป็นส่วนจัดแสดงหลัก 6 ส่วน สามหัวข้อ คือ
- ส่วนที่ 1 OUR HOME
- ส่วนที่ 2 OUR LIFE
- ส่วนที่ 3 OUR KING
ความเป็นมาของโครงการพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า
เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อพวช. ได้รับความเห็นชอบให้ “โครงการพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า” เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงให้เห็นหลักการคิด วิธีการทรงงานและกระบวนการค้นหาคำตอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงนำไปแก้ปัญหาหรือพระราชทานแก่พสกนิกรในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร ตลอดจนเป็นแบบอย่างแก่ผู้สนใจชาวต่างประเทศ และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านความเข้าใจในความสำคัญและปัญหาของระบบนิเวศ การบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกับระบบนิเวศธรรมชาติอย่างยั่งยืน
พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า จึงเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของประชาชนชาวไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง ในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก ในบทบาทความสัมพันธ์ของระบบนิเวศที่สำคัญของโลกและของประเทศไทย อันจะนำไปสู่การมีจิตสำนึกในการรักษา อนุรักษ์ระบบนิเวศ และเตรียมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรู้เท่าทัน ตามแนวคิดและวิธีการทรงงานต้นแบบจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
นิทรรศการพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า จัดแสดงภายใต้หัวข้อหลัก“พระมหากษัตริย์นักพัฒนา การอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน” อันประกอบไปด้วยสาระหลักต่อไปนี้
- อิทธิพลของระบบสุริยะ โลกและปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนดความแตกต่างของระบบนิเวศในโลก
- หลักการพื้นฐาน ความสัมพันธ์ ความสมดุล พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนปัญหา ของระบบนิเวศต่าง ๆ ของโลกและประเทศไทย
- ความสัมพันธ์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จากกิจกรรมการดำรงชีพของมนุษย์ ตั้งแต่ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
- หลักการ วิธีการทรงงาน ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษา ค้นหาคำตอบ นำไปสู่ การแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพของประชาชน และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
- การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การจัดแสดงนิทรรศการ ประกอบด้วยส่วนจัดแสดงหลัก 6 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 โลกและการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต
- นำเสนอเกี่ยวกับกำเนิดความเป็นมาของโลก อิทธิพลขององค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก โลก ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการ การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในระบบนิเวศต่าง ๆ ของโลกที่แตกต่างกัน
ส่วนที่ 2 ระบบนิเวศและความหลากหลาย
- ดาวเคราะห์โลก ประกอบด้วยระบบนิเวศที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน เกิดขึ้นเป็นระบบใหญ่ ซึ่งก็คือโลกของเรา ความสัมพันธ์และความสมดุลระหว่าง สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของระบบนิเวศแต่ละระบบ ประกอบด้วย ระบบนิเวศเขตหนาว เขตอบอุ่น ทะเลทราย และป่าเขตร้อน ยังนำไปสู่ระดับความสมดุลของระบบนิเวศและของโลกด้วย
ส่วนที่ 3 การจัดการทรัพยากรน้ำ
- แสดงกำเนิดและการหมุนเวียนของน้ำในลักษณะวัฏจักร ความสำคัญของน้ำกับชีวิต ทั้งมนุษย์และ สิ่งแวดล้อม ในด้านของการองค์ประกอบในสิ่งมีชีวิต การเป็นที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งอาหาร และก่อให้เกิดวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตแบบต่าง ๆ ความเปลี่ยนแปลงของน้ำและผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในระดับโลกและภายในประเทศไทย อันนำไปสู่วิธีการบริหารจัดการและการแก้ปัญหาน้ำ เพื่อให้เกิดแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
ส่วนที่ 4 การจัดการทรัพยากรดิน
- ที่มาและกำเนิดของ “ผืนดิน” และการที่มนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณรู้จักใช้และจัดสรรประโยชน์บนผืนแผ่นดิน และเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ประโยชน์ จึงต้องมีการหาวิธีบริหารจัดการดินอย่างถูกต้อง เพื่อให้มนุษย์ยังคงมีทรัพยากรดินให้ใช้ได้อย่างยั่งยืน
ส่วนที่ 5 หอเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
- แสดงถึงหลักการทรงงาน พระวิสัยทัศน์ และกระบวนการศึกษาปัญหาในธรรมชาติ อันเป็นที่มา ของโครงการในพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการ และสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์อันเป็นประโยชน์ 8 รายการ ตลอดจนการเฉลิมพระเกียรติจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก ต่อโครงการในพระราชดำริ ซึ่งแสดง ให้เห็นถึงการยอมรับในพระปรีชาสามารถและผลประโยชน์ของโครงการต่อประชาชนและภูมิภาคต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ประกอบด้วย
ส่วนที่ 6 การจัดการทรัพยากรน้ำในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก
- เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับสถานการณ์ของทรัพยากรน้ำในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก การใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ คุณค่าของ น้ำต่อวิถีชีวิต ของประชากรในภูมิภาค สถานการณ์ที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อเป็นการ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่สามารถใช้เป็นกรณีศึกษาและพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม อันจะนำไปสู่ การพัฒนาความร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของภูมิภาคอย่างยั่งยืนต่อไป
ที่มา http://www.nsm.or.th/about-rama9-museum/history-rama9-museum.html
เราไปชมภาพบรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์กันค่ะ
ให้ภาพเล่าเรื่อง
ได้ยินจริงๆด้วยยยยยย
ทางขึ้นไปจุดชมวิว
รถยนต์พระที่นั่ง
ของใช้ส่วนพระองค์
ของใช้ส่วนพระองค์
ของใช้ส่วนพระองค์
ของใช้ส่วนพระองค์
ของเล่นเมื่อครั้งทรงพระเยาว์
โครงการหลวง
โครงการหลวง
โครงการหลวง
พิพิธภัณฑ์นี้จะเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการสิ้นปีนี้นะคะ รอติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.facebook.com/Rama9MuseumThailand