DITP เพิ่มมาตรการจัดการสินค้าผลไม้ เน้นย้ำสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคทั่วโลก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เพิ่มมาตรการจัดการสินค้าผลไม้พร้อมสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค โดยจัดตั้ง “โครงการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าอาหารไทยปลอดการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019” (Thailand Delivers with Safety)
เพื่อเน้นย้ำให้ทั่วโลกได้เห็นถึงศักยภาพและคุณภาพของผลไม้ไทยว่ามีความปลอดภัยทุกขั้นตอน พร้อมกำหนดมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในทางเดียวกัน และเพิ่มความปลอดภัยในการบริโภคสินค้ามากขึ้น

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตของคนทั่วโลกเปลี่ยนไป
โดยมีความระมัดระวังเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อสุขภาพกันมากขึ้น การเลือกซื้อสินค้าอาหาร ผักสด ผลไม้สด เพื่อการบริโภคจึงยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกผักผลไม้หลายชนิดไปทั่วโลกและนับเป็นประเทศแรกๆ
ที่ให้ความสำคัญในการส่งมอบความปลอดภัยถึงผู้บริโภค โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย
ซึ่งกำหนดมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ผลิต ผู้ส่งออก ผู้ประกอบการ ผู้จัดส่งวัตถุดิบผักและผลไม้ รวมถึงผู้ประกอบการโลจิสติกส์ ให้ปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เพิ่มความปลอดภัยในการบริโภคสินค้ามากขึ้น ซึ่งมาตรการจัดการสินค้าผลไม้ประกอบไปด้วย 3 มาตรการหลักด้วยกัน ได้แก่

1) ลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนมากับวัตถุดิบและภาชนะบรรจุ ผู้ประกอบการ และ Supplier ที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งผัก ผลไม้ ต้องควบคุมการเข้าออกสถานที่ เช่น
การเซ็นชื่อ การคัดกรอง พร้อมจัดเก็บข้อมูลบุคลากรที่ปฏิบัติงานและที่มากับรถขนส่ง
การทำความสะอาดรถขนส่งวัตถุดิบ การสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเพื่อป้องกันการปนเปื้อนขณะปฏิบัติงาน


2) การควบคุมกระบวนการผลิตที่เข้มงวด ผู้ประกอบการต้องมีการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย ตั้งแต่การรับวัตถุดิบผัก-ผลไม้ การแปรรูป การบรรจุ ตามมาตรฐาน GMP และ HACCP รวมทั้งสุขอนามัยส่วนบุคคลของพนักงานที่ปฏิบัติงาน ต้องสวมผ้ากันเปื้อน ถุงมือ และหน้ากาก การล้างมือในขณะปฏิบัติงาน รวมถึงมาตรการในการขนส่ง
การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภายในตู้คอนเทนเนอร์

3) การควบคุมสุขอนามัยของพนักงานและสิ่งแวดล้อมในโรงงาน

  • สถานที่และอาคารผลิต (Location and Manufacturing Building) ให้มีการควบคุมทางเข้าและออก จัดสถานที่อาคารผลิต ห้องประชุม โรงอาหาร ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องสุขาให้เหมาะสม เพื่อลดความแออัด รวมถึงระบบระบายอากาศและเครื่องกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงภายในอาคารผลิต
  • ระบบสุขาภิบาล (Sanitation) จัดให้มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่เหมาะสมในการป้องกันระหว่างปฏิบัติงาน เช่น ที่ล้างมือ สบู่เหลว น้ำยาฆ่าเชื้อโรค กระดาษเช็ดมือชนิดที่ใช้แล้วทิ้ง ถังขยะที่มีฝาปิดและไม่ใช้มือสัมผัสการแสดงวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
  • การทำความสะอาด (Cleaning) เคร่งครัดในการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในอาคารผลิต เครื่องจักร พื้น ผนัง รวมทั้งพื้นที่ผิวจุดเสี่ยงที่มีการสัมผัสร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์โดยสาร เก้าอี้ โต๊ะกินข้าว เป็นต้น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามความถี่ที่เหมาะสม
  • บุคลากร (Personal hygiene of workers) ให้มีมาตรการคัดกรองพนักงานก่อนเข้าสถานที่ทำงานโดยจัดเก็บข้อมูลเพื่อติดตามย้อนกลับ ขณะทำงานต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา สวมใส่ถุงมือ รองเท้า ล้างมือ เว้นระยะห่าง และป้องกันการปนเปื้อนระหว่างปฏิบัติงาน
  • การอบรม (Training) ให้พนักงานมีความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ การคัดกรองวัดไข้ การสวมหน้ากาก การล้างมือ การเว้นระยะห่าง การทำความสะอาด และการลดความแออัดเพื่อการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม

“กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดโครงการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าอาหารไทยปลอดการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีและสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าทั่วโลกรวมถึงเน้นย้ำให้ทั่วโลกได้เห็นถึงศักยภาพและคุณภาพของสินค้าเกษตร อาหารทั่วไปและสินค้าอาหารฮาลาลของไทยว่ามีความปลอดภัยทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การเก็บเกี่ยว การขนส่ง มีระบบป้องกันตนเองของพนักงานในโรงงาน การบรรจุ และการขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค” นายสมเด็จกล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save