ธุรกิจท่องเที่ยว จะปรับตัวอย่างไร หลังผ่านโควิด-19

วิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อ ‘ธุรกิจท่องเที่ยว’ เป็นอย่างมาก ไม่เพียงเเต่ระยะสั้นเท่านั้น เเต่ยังส่งผลระยะยาวผ่านการเปลี่ยนแปลงของ ‘Mega trend’ ทำให้พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของผู้คนทั่วโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

หลังผ่านไป 2 ปีกว่าๆ สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย มีการผ่อนปรนมาตรการเดินทางระหว่างพรมเเดนมากขึ้น ธุรกิจท่องเที่ยวเริ่มกลับมามีความหวังอีกครั้ง เหล่าผู้ประกอบการจึงต้องปรับธุรกิจครั้งใหญ่รองรับ’การใช้ชีวิตเเบบ ’Next Normal’ รวมถึงมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ด้วย
.
โดยมีเเนวทางในการปรับกลยุทธ์ธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อความพร้อมรับการเปลี่ยนเเปลงหลังผ่านโควิด-19 ดังนี้
.
◾️มีแนวโน้มว่าการท่องเที่ยวแบบกลุ่มทัวร์จะลดน้อยลง เปลี่ยนมาเป็นการท่องเที่ยวเฉพาะบุคคลมากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องปรับตามความต้องการของนักท่องเที่ยวเเต่ละช่วงวัย เช่น จัดทำการตลาดเพื่อจับกลุ่ม Gen Z , Gen Y , กลุ่มสูงวัย เเละจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
.
◾️ปรับปรุงมาตรฐานด้านสุขอนามัยเเละเรื่องความปลอดภัยต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
.
◾️เพิ่มช่องทางการจองห้องพักหรือการติดต่อบริการให้หลากหลาย โดยเฉพาะช่องทางดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูง นำเทคโนโลยีมาใช้ต่อยอดธุรกิจ เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค
.
◾️ปรับรูปเเบบการบริการให้มีความยืดหยุ่น มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ เช่นขายอาหารเดลิเวอรี่ ให้เช่าห้องประชุม ขยายบริการไปสู่ธุรกิจสุขภาพ ฯลฯ
.
◾️ลดการพึ่งพานักท่องเที่ยวจากกลุ่มเดียวมากเกินไป เพื่อรับมือกับวิกฤตครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
.
◾️วางเเผนการเงิน เตรียมเงินสดเเละวางเเผนหาช่องทางระดมทุนใหม่ เพื่อพยุงสภาพคล่องของธุรกิจ
.
◾️ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเเบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งเเวดล้อม สังคมเเละภูมิปัญญาท้องถิ่น
.
◾️แสวงหาความร่วมมือใหม่ๆ สร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งกับหน่วยงานภาครัฐเเละชุมชนในพื้นที่ เพื่อร่วมมือพัฒนาการท่องเที่ยวในระยะยาว
.
◾️ศึกษาหาความรู้เพื่อยกระดับสินค้าเเละบริการให้มีความทันสมัย ก้าวทันโลก
เเละมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ
.
.
ล่าสุดกับมาตรการดีๆ อย่าง “SME ปัง ตังได้คืน” ที่ทาง สสว.ทุ่มงบประมาณกว่า 400 ล้านบาท มาช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาให้แก่ผู้ประกอบการ แบบร่วมจ่าย หรือ co-payment ในสัดส่วนถึงร้อยละ 50–80 สูงสุดรายละไม่เกิน 200,000 บาท ตามขนาดของธุรกิจ
.
โดยเปิดให้ SME สามารถเลือกใช้บริการพัฒนาธุรกิจต่างๆ ที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ BDS (https://bds.sme.go.th/) ที่ สมัครง่าย อนุมัติไว ตังได้คืน
.
เบื้องต้น สสว. พิจารณาผู้ประกอบการ 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่
1) กลุ่มท่องเที่ยว (Restart) เช่น โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร บริการเพื่อสุขภาพ นำเที่ยวหรือจำหน่ายของที่ระลึก เพื่อพลิกธุรกิจขานรับนโยบายเปิดประเทศ
2) กลุ่มผลิตอาหารและเครื่องดื่ม (Food) รวมไปถึงการผลิตยาและสมุนไพร
3 )กลุ่มอุตสาหกรรม New S-Curve เช่น อุตสาหกรรมการบิน อากาศยานและเครื่องมือแพทย์
4) กลุ่ม BCG เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว กลุ่มเกษตรแปรรูป และการค้าและบริการอื่น ๆ
.
สำหรับ SME ไทยที่สนใจรับบริการพัฒนาธุรกิจต่างๆ เพื่อให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนเเปลง สามารถศึกษารายละเอียดเเละสมัครเข้าร่วมโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ได้ที่ https://bds.sme.go.th/Sme พร้อมสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 1301 ,

0-2038-5858 หรือศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจร หรือ OSS สสว.ในทุกจังหวัด ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
.
.

สสว #สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
BDS #SMEปังตังได้คืน #SME #สมัครง่ายอนุมัติไวตังได้คืน
พัฒนาธุรกิจ #ธุรกิจท่องเที่ยว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save