อึ้ง ! NASA จะใช้เครื่องบินเจ็ท ติดตามถ่ายภาพสุริยุปราคาเต็มดวง 21 สิงหาคมนี้

ถึงแม้จะประเทศไทยจะไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ สุริยุปราคา ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคมนี้ ก็ไม่ต้องน้อยใจไปครับ เพราะทาง NASA เขาวางแผนที่จะนำเครื่องบินเจ็ทขึ้นบินติดตามถ่ายภาพ สุริยุปราคา อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

คาดว่าจะมีภาพสวยๆ ของ สุริยุปราคาเต็มดวงแบบชัดเจนแจ่มแจ๋ว มาอวดสู่สายตาชาวโลกอย่างแน่นอน โดยยานพาหนะที่ทาง NASA จะนำมาใช้ในภารกิจบินติดตามถ่ายภาพ สุริยุปราคา ในครั้งนี้ เป็นเครื่องบินเจ็ทรุ่นเก่าจากยุค 1950 ที่มีชือรุ่นว่า WB-57F นำมาติดตั้งอุปกรณ์เสริม เพื่อการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ในขณะที่เกิด สุริยุปราคาเต็มดวง ด้วยความละเอียดสูง แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

เครื่องบินเจ็ต WB-57F ถูกนำมาทดสอบความพร้อมที่สถาบันวิจัย Johnson Space Center ของ NASA ตรงส่วนหัวเครื่องบินที่มีการห่อหุ้มด้วยวัสดุสีเงิน คือส่วนที่มีการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์เอาไว้

เครื่องบินรุ่นคลาสสิค WB-57F จำนวน 2 ลำได้ถูกนำมาติดตั้งกล้องโทรทรรศน์จำนวนลำละ 2 กล้อง โดยติดตั้งเข้าไปที่ส่วนหัวของตัวลำ และด้วยกล้องโทรทรรศน์ทั้ง 4 ตัวนี้ จะทำให้คุณ Amir Caspi แห่งสถาบันวิจัย Southwest Research Institute สามารถบันทึกภาพที่ชัดเจนที่สุด ของชั้นบรรยากาศรอบนอกของดวงอาทิตย์ หรือก็คือสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า Corona (โคโรนา คือพลาสมาชนิดหนึ่งในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ สามารถสังเกตเห็นได้ในขณะที่เกิดสุริยุปราคา) รวมถึงภารกิจนี้ยังมีการถ่ายภาพแบบอุณหภูมิความร้อน (Thermal image) ของดาวพุธเป็นครั้งแรกอีกด้วย เหมือนเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว

โดยกล้องบนเครื่องบินเจ็ท สามารถถ่ายภาพแบบความละเอียดสูงที่ความเร็ว 30fps (ภาพต่อวินาที) ตลอดช่วงระยะเวลาที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง และการบินติดตามของเครื่องบินเจ็ท จะทำให้มองเห็นปรากฏการณ์ สุริยุปราคาเต็มดวง ได้ยาวนานกว่าการที่เราเฝ้าสังเกตการณ์บนพื้นโลกถึง 3 เท่า ซึ่งการที่เครื่องบินเจ็ท บินอยู่ใต้เงาของดวงจันทร์บนชั้นบรรยากาศระดับ Stratosphere จะทำให้การบันทึกภาพทำได้อย่างกระจ่างชัดแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เพราะไม่ถูกรบกวนจากชั้นบรรยากาศโลก และภาพถ่ายเหล่านี้จะถูกนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุว่า ทำไมชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ถึงได้มีความร้อนสูงมาก (ในระดับล้านองศา) ในขณะที่บนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ กลับมีความร้อนเพียงระดับพันองศาเท่านั้น

ที่มา – thaiware , wikipidia , The thai astronomical society , dpreview

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save