สมาคม Thai Startup จับมือรัฐ – เอกชน – สมาคม กว่า 40 องค์กร ร่วมติดปีกสตาร์ทอัพไทย

สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย หรือ “Thai Startup” เผยเพนท์พอยท์จากสมาชิกและพันธมิตรที่เป็นความท้าทายในการดำเนินธุรกิจ พบ 70% ขาดแหล่งทุนเพื่อการขยายธุรกิจ 40% ขาดทีมงานด้านเทคโนโลยี และ 35% ยังไม่มีโมเดลธุรกิจ ล่าสุดเปิดตัว
คณะกรรมการสมาคมฯชุดใหม่จากหลากหลายอุตสาหกรรมประกาศวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยด้วย 3 แกนหลัก รวมสตาร์ทอัพไทยให้เป็นหนึ่ง ผูกพันธมิตรรอบด้าน และสร้างความแตกต่างให้กับสังคม

ผศ.ดร. ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ นายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยหรือ “THAI STARTUP”และผู้ร่วมก่อตั้ง iTAX เปิดเผยว่า จากการสำรวจสมาชิกของสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยและพันธมิตรกว่า 100 ราย พบอุปสรรคของสตาร์ทอัพไทย ดังนี้ 70% ขาดแหล่ง
ทุนเพื่อการสเกล หรือ ขยายธุรกิจ 35% ขาดทีมงานด้านเทคโนโลยี และอีก 35% ไม่มีโมเดลธุรกิจ ซึ่งจากเพนพอยท์เหล่านี้สมาคมฯเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางในการปลดล็อกปัญหาเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสตาร์ทอัพไทยให้
อัพเลเวลสู่ซีรี่ส์ต่อไป

ล่าสุด สมาชิกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยได้มีมติเลือกนายกสมาคม อุปนายก และคณะกรรมการชุดใหม่จำนวน 16 คน จากธุรกิจสตาร์ทอัพหลากหลายอุตสาหกรรมเพื่อร่วมทำงานสมาคมฯ ให้ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล โดย ผศ.ดร. ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ ได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมฯ นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังจะมีคณะกรรมการที่ปรึกษา ซึ่งจะเปิดตัวคณะกรรมการที่ปรึกษาดังกล่าวเร็วๆ นี้

“เรามีวิสัยทัศน์ที่จะขับเคลื่อนระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยจากประเทศไทยที่ส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคเทคโนโลยีจากต่างประเทศสู่ประเทศที่เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยี ด้วย 3 แกนหลัก คือ Unite Startups รวมสตาร์ทอัพไทยให้เป็นหนี่ง Engage Partner ประสาน10 ทิศ ผูกพันธมิตรรอบด้าน และ Make an Impact ทำให้สตาร์ทอัพมีที่ยืนเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสังคมและเพื่อให้การทำงานของสมาคมฯเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรมเราได้แบ่งหน้าความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละท่านให้ครอบคลุมฟังก์ชั่นที่จำเป็นในการผลักดันกิจกรรมต่าง ๆ ที่สมาคมฯ ตั้งเป้าไว้” ผศ.ดร. ยุทธนากล่าว

รายนามคณะกรรมการชุดใหม่ประกอบด้วย ณัฐพร สุชาติกุลวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านพัฒนารายได้ Happenn
อุปนายกดูแลด้านการพัฒนาสมาชิกและการตลาด ธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน ผู้ก่อตั้ง The Signature อุปนายกดูแลด้านการกลยุทธ์
และการต่างประเทศ รับขวัญ ชลดำรงค์กุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย EasyCompany อุปนายกดูแลด้านกฎหมายและนโยบาย ชื่นชีวัน อานันโทไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง Globish กรรมการและประธานด้านภาพลักษณ์องค์กร ธนวิชญ์ ต้น กันยา กรรมการผู้จัดการ Horganice กรรมการและประธานด้านการศึกษาและมหาวิทยาลัย พิพัฒน์ พิเชฐจำเริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Classwin กรรมการและประธานด้านสิทธิประโยชน์สมาชิก ภาโรจน์ เด่นสกุล กรรมการผู้จัดการ Zipevent กรรมการและประธานด้านสมาชิก เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ กรรมการผู้จัดการ VulcanCoalition กรรมการและประธานด้าน การมีส่วนร่วมของภาครัฐและกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย รัชวุฒิ พิชยาพันธ์ กรรมการผู้จัดการ Fixzy กรรมการและประธานด้านภูมิภาค ราชิต ไชยรัตน์ กรรมการผู้จัดการ Accrevo กรรมการและประธานด้านการตรวจสอบและรัฐสัมพันธ์ วิชัย รามมะเริง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Knockdoor กรรมการและเลขาธิการ วีร์ สิรสุนทร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Primo กรรมการและประธานด้าน Corporate Partnership ศักดิ์ศรัณย์ เมธีวัชรานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Kop Technology กรรมการและประธานด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก ศักดิ์สิทธิ์ เลิศไผ่คุณธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Condothai กรรมการและประธานด้านกิจกรรม และ อมรพล หุวะนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Moreloop กรรมการและประธานด้านการเงินและความยั่งยืน

ผศ.ดร. ยุทธนา กล่าวเพิ่มเติมว่า งานแรกของสมาคมฯ จากคณะกรรมการชุดใหม่คือการจับมือกับกรุงเทพมหานครเพื่อจัดงาน HackBKK โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกสมาคมฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบการสตาร์ทอัพจากหลายธุรกิจได้ช่วยกันออกแบบ
โซลูชันเพื่อประชาชนและตอบโจทย์นโยบายของทางภาครัฐด้าน ธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน อุปนายกดูแลด้านการกลยุทธ์และการต่างประเทศ กล่าวว่า “เราได้ทำการ สอบถามสตาร์ทอัพและสำรวจปัญหาและอุปสรรคต่างๆ พบ 7 อุปสรรคหลัก ๆ คือ 70.1 % ของสตาร์ทอัพพบปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน 40.2% ของสตาร์ทอัพเจอปัญหาเกี่ยวกับการหา Tech Talent เช่น software engineers, UX/UI designers 35.5% ของสตาร์ทอัพพบปัญหาเกี่ยวกับการสร้างโมเดลรายได้ที่จะทำกำไร 34.6% ของสตาร์ทอัพ นี้บอกถึงปัญหาของผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารสตาร์ทอัพเอง การที่เราต้องใส่หลากหมวกและการเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เราไม่สามารถพัฒนาทักษะของตัวเองได้ทัน และเมื่ออยากจ้างคนเก่ง ๆ คนมีประสบการณ์การก็ไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ้างคนเหล่านั้น 31.8% ของสตาร์ทอัพติดปัญหาเรื่องกฎระเบียบต่าง ๆ 30.8% พบอุปสรรคเมื่อต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐและพบเจอปัญหาเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการทำงานที่สามารถบูรณการกันได้มากยิ่งขึ้น 27.1%ของสตาร์ทอัพ พบอุปสรรคเกี่ยวกับการขยายตลาดที่ไม่ใช่แค่กับบริษัทใหญ่ ๆ ในไทย แต่รวมถึงบริษัทข้ามชาติอีกด้วย”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save