“รายงานผลสำรวจของอีริคสัน ความคืบหน้าของ 5G ทั่วโลกและศักยภาพของผู้บริโภคในประเทศไทย”
จำนวนผู้สมัครใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไตรมาสที่ 1 ปีพ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้สมัครใช้บริการรายใหม่เท่ากับ 44 ล้านรายจากทั่วโลกในไตรมาสที่ 1 ปีพ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้สมัครใช้บริการรายใหม่เท่ากับ 12 ล้านรายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (ไม่นับรวมจีนและอินเดีย)
ในปัจจุบัน มีจำนวนผู้สมัครใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 7.9 พันล้านรายทั่วโลก
ความคืบหน้าของ 5G ในตลาด จากผลการวิจัยคาดการณ์ว่า 5G จะมาเร็วกว่าเมื่อเทียบกับตอนเปิดให้บริการ 4G ภายในปีพ.ศ. 2567 จะมีการสมัครใช้บริการ 5G มากถึง 1.9 พันล้านรายเพื่อเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อแบบไร้สายเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่าการแบ่งปันคลื่นความถี่ (Spectrum Sharing)จะสามารถทำให้เครือข่าย 5G ครอบคลุมได้ถึงประมาณ 65
เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งโลก ภายในปีพ.ศ. 2567 ปริมาณการใช้ข้อมูลบนมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 131 เอ็กซะไบท์ ต่อเดือนภายในปีพ.ศ. 2567 ปริมาณการใช้ข้อมูลบนมือถือประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์จะอยู่บนเครือข่าย 5G
ภายในปีพ.ศ. 2567 ปริมาณการใช้ข้อมูลบนมือถือต่อเดือนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก จะเติบโตขึ้นถึง 7 เท่า จาก 2.3 เอ็กซะไบท์ในปีพ.ศ. 2561 ไปเป็น 16 เอ็กซะไบท์ในปีพ.ศ. 2567 และคาดว่าภายในปีพ.ศ. 2567 จะมีการสมัครใช้บริการ 5G ถึง 12 เปอร์เซ็นต์ ศักยภาพผู้บริโภค 5G ในประเทศไทย
อีริคสันนำเสนอผลการรายงานการวิจัยผู้บริโภค พร้อมข้อมูลเชิงลึกสำหรับประเทศไทยโดยงานวิจัยฉบับนี้อ้างอิงข้อมูลมาจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยจำนวน 1,500 คนที่มีอายุระหว่าง 15 ปี ถึง 69 ปี ซึ่งในเชิงสถิติผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์กลุ่มนี้จะเป็นตัวแทนของคนจำนวน 19 ล้านคนในประเทศไทย
โดยในรายงานฉบับนี้ จะเก็บข้อมูลบนพื้นฐานความเชื่อของผู้บริโภคในแบบเดิม ๆ 4 ข้อ คือ
- ผู้บริโภคจะไม่ได้รับผลประโยชน์จาก 5G ในอนาคตอันใกล้
- กรณีศึกษาเกี่ยวกับ 5G สำหรับผู้บริโภค ไม่ได้มีอยู่จริง
- สมาร์ทโฟนจะเป็นทางออกสำหรับ 5G
- พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันจะทำนายความต้องการการใช้งานในอนาคตได้อย่างแม่นยำ ความเชื่อที่ 1 ผู้บริโภคจะไม่ได้รับผลประโยชน์จาก 5G ในอนาคตอันใกล้ 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคในประเทศไทยคาดหวังว่าบริการ 5G จะสามารถออกสู่ตลาดได้จริงภายใน 2 ปีอีกข้างหน้าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคในประเทศไทยจะเปลี่ยนผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใน 6 เดือน หากผู้ให้บริการเดิมที่ใช้อยู่ ไม่เปิดให้บริการ 5G 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคในประเทศไทย ต้องการให้เกิดการให้บริการ 5G ในพื้นที่ใจกลางเมือง และเมืองที่มีผู้คน อยู่หนาแน่น ก่อนพื้นที่อื่น ๆ 52 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคในประเทศไทย มีความรู้สึกว่ายังไม่พอใจกับบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่บ้าน และ มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ความเชื่อที่ 2 กรณีศึกษาเกี่ยวกับ 5G สำหรับผู้บริโภค ไม่ได้มีอยู่จริง ความเร็วในการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Enhanced Mobile Broadband) และอุปกรณ์เซนเซอร์ในบ้านอัจฉริยะเป็นสองสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคในประเทศไทยยินดีที่จะจ่ายค่าบริการโดยผู้บริโภคมีความคาดหวังว่าบริการเหล่านี้ จะเกิดขึ้นภายใน 2 ปีข้างหน้าโดยเฉลี่ยประมาณ 83 เปอร์เซ็นต์มีความสนใจในบริการและยินดีที่จะจ่ายค่าบริการ 5 อันดับแรกที่ผู้บริโภคในประเทศไทย คาดหวังอยากให้รวมอยู่ในการให้บริการจาก 5G พื้นที่ให้บริการ 5G (5G hot zones) การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงในโซนพื้นที่หลักในเมืองจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์แบบ full HD ได้ภายในไม่กี่วินาที ภาพ 3 มิติเสมือนจริง (Diorama) ผู้บริโภคสามารถเลือกมุมมองของการดูกีฬาบนหน้าจอแท็ปแล็ตได้เองจากกล้องมุมต่าง ๆ เช่น มุมมองจากผู้เล่น ผู้ตัดสิน หรือผู้ชมพร้อมกับดูคะแนนหรือสถิติในปัจจุบันได้อีกทั้งยังสามารถแชร์หน้าจอไปหาคนอื่นได้อีกด้วย โฮโลแกรม 3 มิติ (3D hologram)
ผู้ใช้สามารถมองเห็นหน้าคู่สนทนาที่โทรเข้ามาด้วยโทรศัพท์แบบโฮโลแกรม 3 มิติ คุณภาพสูง เสมือนนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน 5G สำหรับความบันเทิงในรถยนต์ บริการเชื่อมต่อความบันเทิงในรถยนต์
ผู้บริโภคสามารถชมวีดีโอ 4K ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถหยุดพักและกลับมาชมต่อได้ นอกจากนี้ยังสามารถช้อปปิ้งออนไลน์และเล่นโซเชียลมีเดียได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วยบริการเซนเซอร์ในบ้านอัจฉริยะ คุณสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกัน เช่น จอมอนิเตอร์ต่าง ๆภายในบ้าน สามารถใช้อุปกรณ์ 5G ในการควบคุมเพื่อการบริหารจัดการที่ง่ายขึ้น เชื่อมต่อสื่อสารระหว่าง อุปกรณ์และยังสามารถเชื่อถือและไว้วางใจได้อีกด้วยผู้บริโภคในประเทศไทยมีความพร้อมที่จะจ่ายค่าบริการเพิ่มขึ้นอีก 30
เปอร์เซ็นต์ (โดยเฉลี่ย) สำหรับบริการ 5G ความเชื่อที่ 3 – สมาร์ทโฟนจะเป็นทางออกสำหรับ 5G ผู้บริโภคในประเทศไทยเชื่อว่าสมาร์ทโฟนจำเป็นจะต้องพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานสำหรับ 5G ผู้บริโภคคาดหวังว่าอุปกรณ์ที่รองรับ 5G จะมีฟีเจอร์อื่น ๆที่มากไปกว่าแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นานและขนาดความจุของหน่วยความจำที่เพิ่มขึ้น อาทิ กล้องที่สามารถหมุนได้ 360 องศา ขนาดความละเอียดของภาพระดับ 8K หรือแม้แต่ความสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของดวงตา 76 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยคาดหวังว่าจะได้ใช้แว่น AR ภายในปีพ.ศ. 2568 . ความเชื่อที่ 4 – พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน จะทำนายความต้องการการใช้งานในอนาคตได้อย่างแม่นยำผู้บริโภคในประเทศไทยจะใช้เวลาเพิ่มมากขึ้นประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่อดูวิดีโอบนมือถือและอุปกรณ์พกพา ซึ่ง 1 ใน 3 ชั่วโมงนี้
จะเป็นการใช้งานผ่านอุปกรณ์แว่น AR และ VR 88 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยเชื่อว่าพวกเขาจะสื่อสารทางโทรศัพท์ในแบบโฮโลแกรม 3 มิติ เป็นประจำทุกสัปดาห์ ขณะที่ราว 13เปอร์เซ็นต์คาดว่าการโทรศัพท์สนทนาแบบเห็นหน้ากัน หรือ Video call จะถูกแทนที่อย่างสิ้นเชิงด้วยการสื่อสารแบบโฮโลแกรม 3 มิติ 86 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยเชื่อว่าเกมคอนโซลจะล้าสมัยสมาร์ทโฟนจะมาแทนที่ในไม่ช้าและกลายมาเป็นเกมคอนโซลใหม่ในที่สุด ปริมาณการใช้งานข้อมูลบนมือถือที่รองรับ 5G ในประเทศไทยโดยเฉลี่ยจะเพิ่มมากขึ้นถึง 10 เท่า ไปเป็น 70 กิกกะไบท์ต่อเดือน โดยผู้ที่ใช้งานสมาร์ทโฟนอย่างจริงจังจะมีการใช้งานข้อมูลบนเครือข่าย 5G มากถึง 130 กิกกะไบท์ต่อเดือนภายในปี 2568
ความคืบหน้าด้าน 5G ของอีริคสัน อีริคสันเป็นผู้นำรายแรกที่ช่วยผู้ให้บริการเปิดให้บริการเครือข่าย 5G ได้ใน 4 ทวีป และสนับสนุนผู้ให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ 24 รายทั่วโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านเรดิโอของอีริคสันตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 สามารถรองรับการใช้งาน 5G ได้อย่างง่ายดายด้วยการติดตั้งซอฟต์แวร์จากทางไกล (Remote Software Installation) ปัจจุบันอีริคสันได้ส่งมอบอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งานสำหรับ 5G ไปแล้วมากกว่า 3 ล้านรายการทั่วโลกซึ่งก่อให้เกิดความได้เปรียบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวสำหรับลูกค้า อีริคสันเป็นผู้นำหลักในคณะทำงานของกลุ่ม 3GPP มีส่วนร่วมถึงกว่า 50,000 รายการ เพื่อยกระดับมาตรฐาน 5G
อีริคสันเป็นรายแรกที่ประสบความสำเร็จในการทดสอบการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ชิปเซ็ทต่าง ๆ ในการใช้งานสำหรับทุกคลื่นความถี่ ทั้งในย่านความถี่สูง กลาง และต่ำ