พระเครื่อง ที่เฉินหลง ยังใช้

 

หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง  อริยสงฆ์ผู้เปี่ยมเมตตา
พระเครื่องของท่าน ชาวไทย และชาวต่างชาติ ต่างนับถือ ในด้านเมตตา​มหา​นิยม ค้าขายร่ำรวย แคล้วคลาดปลอดภัย

หลวงพ่อแพ เขมังกโร เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีนามเดิมว่า “แพ ใจมั่นคง” เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ตรงกับ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง

 

บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ วัดพิกุลทอง ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพันจันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นเมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม และได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร

 

เมื่ออายุครบบวชก็กลับมาอุปสมบทที่วัดพิกุลทองอีก โดยมี พระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ ท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมังกโร” แล้วเดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดชนะสงคราม ศึกษาด้านพระปริยัติธรรมขั้นสูง จนได้เปรียญ 4 ประโยค ได้เป็น “พระมหาแพ” หลังจากนั้นมานัยน์ตาเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมจึงต้องยุติลง แต่ด้วยความเป็นผู้ใฝ่ศึกษา ท่านจึงหันมาศึกษาด้านสมถกัมมัฎฐานและวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักพระครูภาวนา วัดเชตุพนฯ และยังได้เป็นศิษย์รูปหนึ่งของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ ด้วย ต่อมาทราบว่าที่อำเภอบางระจัน มีพระอาจารย์เรืองวิทยาคมและวาจาศักดิ์สิทธิ์นัก ชื่อ หลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ ท่านจึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์และยังเป็นที่โปรดปรานของพระอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง

 

ปี พ.ศ.2473 อาจารย์หยด เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ลาสิกขาบท ชาวบ้านจึงร่วมกันนิมนต์หลวงพ่อแพให้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนในปี พ.ศ.2474 ท่านจึงเดินทางกลับบ้านเกิดเพื่อปกครองวัดพิกุลทอง โดยขณะนั้นมีอายุเพียง 26 ปีเท่านั้น และวัดพิกุลทองก็ชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงไปปรึกษา หลวงพ่อศรี พระอาจารย์ และด้วยบารมีของพระเกจิทั้งสองรูป จึงสามารถบูรณปฏิสังขรณ์ รวมทั้งสร้างถาวรวัตถุภายในวัดพิกุลทองได้ในเวลาอันรวดเร็ว อันได้แก่ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอประชุมกุฎิสงฆ์ หอไตร หอฉัน ศาลาวิปัสสนา โรงฟังธรรม และ ฌาปนสถาน เป็นต้น นอกจากนี้ ท่านยังสร้างความเจริญให้ท้องถิ่นอีกมากมายเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ ทั้ง โรงพยาบาล, ที่ว่าการอำเภอ, สถานีตำรวจ, สถานีอนามัย, โรงเรียนประชาบาล, สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนอาคารผู้ป่วยของโรงพยาบาลสิงห์บุรีที่เป็นอนุสรณ์สืบมาจนปัจจุบัน คือ อาคารหลวงพ่อแพ 80 ปี, อาคารหลวงพ่อแพ 86 ปี (อาคารเอ็กซเรย์), อาคารหลวงพ่อแพ 90 ปี และ อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร ที่โดดเด่นเป็นสง่าภายในโรงพยาบาลสิงห์บุรี

 

เฉินหลง หรือ แจ็กกี้ ชาน ยังใช้เป็นพระคู่กาย รุ่นที่เฉินหลงใช้ เป็นรุ่นสมเด็จ พิมพ์ฐานแซม ปี 2517

และวันนี้เราขอนำเสนอ พระสมเด็จ แพ พัน ปี 2510 ถือว่าเป็นพระสมเด็จพิมพ์เศียรบาท รุ่นแรกของหลวงพ่อ จำนวนการสร้าง หลักร้อยองค์ หายากมากในเมืองไทย ณ ปจุบัน เพราะ ชาวสิงค์โปร์​ ฮองกง​และ มาเลเซีย​จีน กว่านเก็บเกลี้ยง

พระสมเด็จแพพันเป็นพระเนื้อผง ที่มีเนื้อหาจัดสุด

หลวงพ่อแพท่านได้ลบผง เรียกว่า ผงวิเศษห้าประการ เป็นผงหลักในการสร้างพระสมเด็จ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห และ ผงพุทธคุณ โดยเฉพาะผงพุทธคุณนั้น ท่านเขียนและลบด้วยพระคาถาชินบัญชร เพื่อใช้เป็นส่วนผสม นอกจากผงวิเศษห้าประการแล้ว ยังมีผงอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ผงบดจากหนังสือ ๗ ตำนาน, ผงยันต์ในคัมภีร์ต่าง ๆ เป็นต้น  ในการทำผงแต่ละอย่างนั้น มีเคล็ดลับที่หลวงพ่อแพถือปฏิบัติคือ รักษาความสะอาดบริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก, ตั้งจิตสงบเป็นสมาธิจดจ่ออยู่กับคาถาอาคม และอักขระต่าง ๆ โดยเฉพาะการบริกรรมภาวนา ต้องแม่นยำ ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพจัดสร้างขึ้น จึงมีพุทธานุภาพทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เยี่ยมยอด 

“พระสมเด็จแพพัน” รุ่นแรก ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ.2510 คำว่า  “แพ” นั้น หมายถึง หลวงพ่อแพ ส่วนคำว่า “พัน” หมายถึง พระอธิการพัน อดีตเจ้าอาวาสผู้เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อครั้งบวชเณรที่ท่านเคารพนับถือมาก พุทธลักษณะด้านหน้า จะเป็นพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร หรือ ทรงไกเซอร์

ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ และ ยันต์พุฒซ้อนอันเป็นยันต์ประจำของหลวงพ่อแพ  ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากพระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์ ส่วนขอบบนสุดด้านขวา จะเป็นอักขระตัว “อัง” และมีตัว “อุ” อยู่เหนือตัว “อัง” ภายในบรรจุ ตะกรุต ทอง นาค เงิน

 

 

 

ปัจุบันมีการทำแก่มาหลายฝีมือรวมถึงที่เก๊มาแต่ในอดีต เพราะฉะนั้น หารเช่าหาควรพิจรณาอย่างรอบครอบ หรือเช่าจากบุคลที่เชื่อถือได้

mm

kimhun55

ท่านจะได้พบความเรื่องราวและเรื่องเล่าใหม่ ที่สามารถประยุคใช้ในชีวิตประจำวันได้

More Posts

Follow Me:
TwitterFacebook

mm

kimhun55

ท่านจะได้พบความเรื่องราวและเรื่องเล่าใหม่ ที่สามารถประยุคใช้ในชีวิตประจำวันได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save