กลยุทธ์การใช้สื่อ Social Media ให้ได้ผลดีที่สุด

ในยุคนี้ Social Media มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่ม Millennials ที่เดิบโตมาในยุคของอินเตอร์เนตเฟื่องฟู แต่การที่แบรนด์จะมีเพียง Facebook page ของตัวเอง แล้วแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้นอาจไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า รวมถึงสร้าง Brand loyalty ได้เพียงพอ เพราะในปัจจุบันการแข่งขันในตลาดมีสูง แบรนด์คู่แข่งต่างต้องการดึงความสนใจจากกลุ่มลูกค้าด้วยการโฆษณาผ่านต่างช่องทาง Social network ต่าง ๆ อีกมากมาย

เรามีข้อแนะนำดี ๆ ในการสื่อสารให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าบน Social network

ไม่เข้าไปขัดขวางกระบวนการหาข้อมูลของลูกค้า นักการตลาดไม่ควรเน้นไปที่การขายสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว ควรต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลต่าง ๆ ที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องการสินค้าโดยตรง แต่เป็นข้อมูลที่กลุ่มลูกค้าสนใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์มากขึ้น เพราะเป้าหมายสูงสุดของแบรนด์นั้นคือ การได้เป็นส่วนหนึ่งใน Social Circle หรือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของลูกค้า

รู้จักกลุ่มลูกค้าอย่างถ่องแท้ เพราะ Millennials เป็นกลุ่มที่มีความรู้ และเชื่อใน Word of Mouth โดยเฉพาะจากกลุ่มเพื่อน ในปัจจุบัน Social network แต่ละแพลตฟอร์มต่างล้วนมีกฎหรือลักษณะเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นักการตลาดต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้การวางกลยุทธ์ทางการสื่อสารเกิดประสิทธิผลมากที่สุดอย่างเช่น

  • Instagram : ผู้ใช้ Instagram มองว่าเป็นช่องทางที่เหมาะสำหรับการหาแรงบันดาลใจ หรือไอเดียใหม่ๆ จากรูปถ่ายที่มีความสวยงาม
  • Twitter : ช่องทางนี้ให้ความสำคัญกับความรวดเร็วของข้อมูล ระยะเวลาของการ Tweet ข้อความ 1 ครั้งที่จะได้รับการ Retweet มักไม่เกิน 18 นาที นั่นหมายความว่าข้อมูลที่แบรนด์ต้องการสื่อสารต้องสั้น กระชับ ได้ใจความ และอัพเดต
  • Facebook : เปรียบเสมือน Internet การรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มักเกิดขึ้นในช่องทางนี้

การให้ข้อมูลที่มีคุณค่าต่อกลุ่มลูกค้า โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ข้อมูลที่มีประโยชน์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของกลุ่มลูกค้ากับแบรนด์ ซึ่งถือเป็นคุณค่าทางจิตใจ

สำหรับการให้ข้อมูลที่เน้นการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง นักการตลาดต้องทราบถึงความต้องการของลูกค้าว่าข้อมูลประเภทใดที่ลูกค้ามองหา และจะเป็นประโยชน์ เช่น การแสดงวิธีการใช้งานของสินค้าหรือการเปรียบเทียบคุณสมบัติของสินค้ากับคู่แข่ง โดยที่สามารถกระตุ้นให้ลูกค้าค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อได้

ส่วนข้อมูลที่เน้นประสบการณ์ของกลุ่มลูกค้ากับแบรนด์นั้น นักการตลาดควรใช้แบรนด์เป็นตัวกระตุ้นที่จะดึงให้กลุ่มลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่แบรนด์ได้จัดขึ้น เพื่อชักชวนให้กลุ่มคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์กับแบรนด์เกิดความสนใจ และหันมาทดลองใช้สินค้าหรือบริการ นอกจากนั้นการวางกลยุทธ์การสื่อสารควรมองภาพระยะยาวมากกว่าการซื้อสินค้าเพียงแค่ 1 ครั้ง

รู้ว่าเมื่อใดควรอยู่นิ่งหรือเมื่อใดควรสื่อสารกับลูกค้า เรื่องนี้นักการตลาดต้องเข้าใจถึงพฤติกรรม และสิ่งที่ลูกค้าให้ความสนใจเพื่อสร้างความเกี่ยวเนื่องกับแบรนด์ อีกทั้งจำเป็นต้องรู้ว่าช่วงเวลาใดเหมาะกับการสื่อสาร และช่วงใดที่ควรให้กลุ่มลูกค้าพูดถึงแบรนด์ โดยที่แบรนด์ไม่เข้าไปขัดขวาง

หากนักการตลาดสามารถตีโจทย์ได้แตก และปฏิบัติตามนี้ได้ก็คงไม่ยากที่จะทำให้แบรนด์เป็นที่สนใจ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของลูกค้า ซึ่งอาจจะเป็นเพียงก้าวแรกสู่ความสำเร็จเท่านั้น เพราะอย่าลืมว่า Social media เป็นเพียงหนึ่งช่องทางในการสร้างยอดขาย แต่ยังมืสื่ออีกมากมายที่นักการตลาดต้องศึกษา และเรียนรู้เพราะลูกค้าแต่ละกลุ่มหรือแต่ละวัยต่างก็มีความสนใจ รวมถึงพฤติกรรมในการเสพสื่อ และความต้องการที่แตกต่างกันออกไป

ที่มา : ipg-connect

mm

tum

More Posts

Follow Me:
Facebook

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save