สภาผู้บริโภค สวนกลับ กทม. ยันการรังวัดระยะความกว้างในซอยก่อสร้างอาคารสูง

สภาผู้บริโภค สวนกลับ กทม. ยันการรังวัดระยะความกว้างในซอยก่อสร้างอาคารสูง 3 แห่งสภาพการใช้งานจริงไม่ถึง 6 เมตร

การลงพื้นที่ของสภาผู้บริโภค เพื่อตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างอาคารสูง หรือ คอนโดมีเนียมในซอยแคบ 3 แห่ง คือ โครงการเอส ประดิพัทธ์ (ประดิพัทธ์ ซอย 23) โครงการเอส รัชดา (รัชดา ซอย44) และ โครงการเดอะมูฟ (พหลโยธิน 37) ที่อาจเข้าข่ายมีขนาดความกว้างของถนนไม่ถึง 6 เมตร ตามกฎหมายตามที่มีประชาชนและชุมชนดั้งเดิม ร้องเรียนเข้ามากกว่า 1 พันราย และพบว่า ความกว้างของถนนส่วนใหญ่มีความกว้างไม่ถึง 6 เมตรตามกฎหมายกำหนด

โดยสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาผู้บริโภค ยืนยัน หลังกรุงเทพมหานคร ชี้แจง การตรวจสอบรังวัดโครงการเอส – รัชดา (รัชดา ซอย 44) จากปากซอยรัชดาภิเษก 44 ถึงบริเวณหน้าโครงการฯ มีความกว้างเขตทางสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และโครงการ เดอะมูฟ (พหลโยธิน 37) จากปากซอยพหลโยธิน 37 ถึงบริเวณหน้าโครงการฯ มีความกว้างเขตทางสาธารณะ 6.20 – 7.70 เมตร โดยสารีย้ำว่า การตรวจสอบและรังวัดระยะถนนดังกล่าว พร้อมมีผู้แทนของกรุงเทพมหานคร สื่อมวลชน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่า ระยะความกว้างของถนนที่สามารถใช้สัญจรได้จริงในซอยส่วนใหญ่มีความกว้างไม่ถึง 6 เมตร หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 5.6 ถึง 5.8 เมตร ผิวการจราจรบางจุดมีความกว้างเพียง 4 เมตรเศษก็มี โดยที่จะมีบางจุดเท่านั้นที่มีขนาดเกิน 6 เมตรไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติกทม. เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 ข้อ 90 ที่ระบุว่า สถานที่ที่มีที่จอดรถเกิน 15 คันจะต้องมีทางเชื่อมไปสู่ทางสาธารณะที่มีขนาดตั้งแต่ 6 เมตร
อีกทั้ง การรังวัดของสภาผู้บริโภค เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ที่ไม่นับรวมกับ ตู้ชุมสายโทรศัพท์ เสาไฟฟ้า ร่องน้ำ ฟุตบาททางเท้า ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสำรวจล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ลงพื้นที่วัดและสำรวจด้วยตนเอง และมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนชุมชน สื่อมวลชนร่วมรับทราบ

ซึ่งปัญหาอาคารขนาดใหญ่ในซอยแคบ มีปัญหาไม่เฉพาะประเด็นระยะความกว้างของถนนอย่างเดียว ยังส่งผลกระทบกับอีกหลายเรื่อง ทั้งการดำเนินชีวิต ชุมชนดั้งเดิม ที่มีทั้งตลาด โรงเรียน โรงพยาบาล สภาวะสิ่งแวดล้อม มลภาวะทางเสียง การจราจร ที่จอดรถ และการเข้าให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเพลิงไหม้ ในชุมชนหรือพื้นที่ที่ใกล้เคียงจะไม่สามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้ ทางสภาผู้บริโภคจึงจะนำข้อมูลข้อเท็จจริงที่ได้จัดทำเป็นรายงานและส่งเสนอขอให้กรุงเทพมหานคร ทบทวนการอนุญาตก่อสร้างเพื่อความปลอดภัยและปกป้องคุ้มครองสิทธิของประชาชน

ขณะที่นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภครักษาการหัวหน้าฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม ระบุว่า การลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ของสภาผู้บริโภคเป็นการตรวจสอบสภาพปัญหาที่แท้จริง และวัดความกว้างทางสาธารณะที่สามารถใช้สัญจรได้จริง โดยเฉพาะกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติ ไฟไหม้อาคาร รวมถึงจำนวนที่จอดรถและถนนที่มีส่วนสำคัญ เพราะเส้นทางการเข้าออกต้อง การเข้าให้ความช่วยเหลือต้องทำให้รวดเร็วที่สุด ดังนั้น การควบคุม จึงเป็นหัวใจสำคัญ ของการเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด และการตื่นตัวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชน ชุมชน ที่ทั้งรณรงค์ สื่อสารกันในชุมชน ถือเป็นสิทธิของประชาชน ผู้บริโภคที่จะต้องได้รับบริการที่ดีจากหน่วยงานรัฐในการจัดการบ้านเมืองร่วมกัน อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีร่วมกัน ก่อนจะเกิดปัญหาจนนำไปสู่ความเสียหาย และการแก้ไข รื้อถอน และถามหาความรับผิดชอบ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save