เทคนิคสำหรับกราฟิกมือใหม่ ทำยังไงให้งานออกมาดี?

 

เป็นกราฟิกมือใหม่ ยังไม่ค่อยมั่นใจ ทำแบบนี้งานจะออกมาดีไหม ทำแบบนั้นจะตอบโจทย์มั้ย หรือจะถูกใจเขาหรือเปล่า

 

แล้วงานกราฟิกที่จะออกมาดีได้ต้องผ่านเทคนิคอะไรบ้าง เหล่ากราฟิกดีไซเนอร์ 10 คนจากหลายแขนง ทั้งนิตยสาร สตูดิโอ ไปจนสายออกแบบปกหนังสือ มาบอกบุญให้คุณถึงที่

จะมือใหม่ หรือคนที่สนใจอยากลองทำก็ เอ้า จด!

รุ่งนภา คาน

 

อาจารย์ประจำภาควิชากราฟิก คณะมีเดียอาตส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

“พูดน้อยแต่ทำเยอะ ให้ความสำคัญกับกระบวนการทางความคิดให้เยอะ เรียบเรียงสิ่งที่ซับซ้อน ให้เข้าใจง่าย และสื่อสารออกมาได้อย่างชัดเจน คลี่คลาย เหมือนกำลังตัดทอนคำพูดที่ใช้สื่อสารให้เหลือน้อยที่สุด แต่มาจากการลงทำมือทำเยอะที่สุด”

 

พงศ์ธร ยิ้มแย้ม

 

 

Art Director / a day BULLETIN

“ถ้าอะไรที่ควรแนะนำ เราว่าสิ่งที่นักออกแบบรุ่นใหม่ๆ รู้ไว้แล้วจะช่วยทำงานให้ดีขึ้นคือการ C & D (Copy and Development) คือลอกเลียนแล้วต่อยอดจากมัน พยายามลอก แต่ไม่ใช่แค่ลอกจากภาพงานโต้งๆ แต่ให้ลอกเข้าไปใน วิธีคิดของคนๆ นั้น ทำไมเขาใช้คู่สีนี้ ฟอนต์นี้มีวิธีทำยังไง แล้วสุดท้ายคุณก็จะเอาไปต่อยอดในงานคุณได้เอง แต่ถ้าคุณลอกมาทั้งดุ้นแบบนั้นก็ C & D เหมือนกัน แต่มัน Copy and  Dead อะ”

 

 

มานิตา ส่งเสริม

 

Graphic Designer / manita-s.tumblr.com

“สมัยเรียนเราจำฝังใจเลยว่าอาจารย์มักคอยย้ำในเรื่องของงานที่เป็น originality กลายเป็นเวลาจะออกแบบงานทุกอย่าง เราจะใช้เวลาในการ research มากที่สุด พยายามดึงความพิเศษเฉพาะของงานนั้นๆ ออกมาให้ได้ แล้วหาวิธีสื่อสารให้งานเป็นเอกลักษณ์ในแบบตัวของเขาเอง”

 

ปริพัฒน์ สินมา

 

 

Cofounder / Design Director หนังสือเรียน wizes
Lecturer / BEAR School of Visual Spectialist

1. ปัจจุบัน เราหาแรงบันดาลใจและเข้าถึงงานกราฟิกได้ง่ายมากจากอินเทอร์เน็ต และมันก็ง่ายมากที่เราหยิบงานหรือเทรนด์นั้นๆ มาปรับใช้กับงานเราโดยไม่ได้รู้ความหมายหรือโจทย์ที่มาของงาน การหยิบมาใช้แบบนี้ก็อันตรายเหมือนกันเพราะอาจจะทำให้สิ่งที่เราออกแบบเป็นการสร้างสวยงามของพื้นผิว แต่ไม่มีความหมาย ไม่มีที่มาที่ไป และไม่ตอบโจทย์

2. ทฤษฎีการออกแบบมันมีอยู่อย่างเช่น Gestalt, Hierarchy มันคงจะดีถ้านักออกแบบจะศึกษาและนำมาปรับใช้กับงานออกแบบ เพื่อให้งานออกแบบเราดูง่าย เป็นระบบ ตอบสนองกับโจทย์และการใช้งาน เพราะงานออกแบบไม่ใช่แค่การทำให้พื้นผิวให้สวยงาม แต่งานออกแบบยังเป็นสะพานหลักของการสื่อสารที่เชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับกลุ่มผู้ใช้งานนั้นๆ ด้วย

3. ถ้างานออกแบบของเราไม่ได้ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นหรือชอบ คนอื่นที่มองก็เช่นกัน อย่าพยายามหลอกตัวเองว่ามันดีและขายมันออกไป ทำใหม่ดีกว่า

4. Micheal beirut แห่ง pentagram พูดไว้ว่า “The thing that I think makes it really fascinating is that the design is always incomplete until it goes out in the world and people are using it who’ve never met you, who never saw the brief, who weren’t there to see the 20 versions. I think if you are a designer and that scares you, and you don’t take pleasure in that part, then I don’t think you can be a designer.” เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวการโดนด่า เราต้องยอมรับมันให้ได้

 

พิชญา โชนะโต

 

Visual designer / Fungjai

A.

ไม่รู้เรียกว่าเทคนิคได้ไหม แต่คิดว่านักออกแบบไม่ควรเสพแต่ภาพที่สวย ควรจะพาตัวเองไปสัมผัสประสบการณ์ทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย  และมีความรู้รอบตัว ที่สำคัญ อ่านหนังสือบ้าง อย่าดูแต่รูปปปป

อยากให้นักออกแบบไม่เพียงแค่ส่องงานสวยๆ ใน Pinterest หรือ browse หนังสือ art แบบผ่านๆ เพื่อหาแรงบันดาลใจ นักออกแบบควรมีความรู้รอบตัว เพราะเราต้องสื่อสารเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ควรเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าของเราทำ

การได้มองเห็นวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ การส่องงานศิลปะในยุคต่างๆ ศึกษาการใช้สี และแนวความคิดในยุคต่างๆ ก็ทำให้เรามีต้นทุนทางวัฒนธรรม มีราก มีกลิ่น จากสิ่งที่เราสนใจ นำมาประยุกต์เป็นการทำงานได้ หลากหลาย นอกจากดูงาน ลองอ่านเรียงความ อ่านหนังสือ เพื่อให้เห็นและเข้าใจกระบวนการและวิธีคิด เข้าใจมนุษย์ เพื่อสื่อสารกับพวกเขา

ข้อดีของอาชีพพวกเรา คือได้กระโดดไปรู้นู่นนี่หลากหลายวงการ เมื่อใดที่คนอยากให้เราสื่อสารให้เขา หากมีต้นทุน ความรู้ และวัฒนธรรมก็จะคุยกับคนได้หลากหลาย ไม่ frustrate ว่าทำไมคนไม่เข้าใจเรา ทำไมเราไม่เข้าใจเขา

หนังสือที่เปลี่ยนมุมมองการออกแบบเรา คือหนังสือ Art of Looking Sideway ของ Alan Fletcher (ผู้ก่อตั้ง Pentagram)

 

หนังสือแนะนำ

  • Art of Looking Sideway — Alan Fletcher
  • Universal Principles of Design — William Lidwell
  • Design for People — Scott Stowell
  • www.readingdesign.org
  • How to Be a Graphic Designer without Losing Your Soul —Adrian Shaughnessy
  • Seventy-nine Short Essays on Design  — Michael Bieru

 

B.

เราทำ archive สีของตัวเองเก็บไว้ เราสนใจสีมากๆ เห็นงานที่สีสวย เห็นชุดสีแปลกตาแล้วใจสั่นสะท้าน

สิ่งที่เราทำคือส่องงานหรือภาพถ่ายที่ชอบแล้วลองหยิบมาวิเคราะห์ จิ้มสี ศึกษาการใช้ว่าใช้สัดส่วนอย่างไร บางทีสีขาวที่ขุ่นหน่อยจะทำให้ สีข้างๆ สดเด้งออกมา ถ้าเราไม่ลองจิ้มดูจะไม่รู้เลย ลองปรับสัดส่วนการใช้สี (ถ้าเนิร์ดและขยันกว่านี้คือลองผสมสีตามดู ทำให้เราเข้าใจว่าถ้าอยากได้สีที่ต้องการต้องลด-เพิ่มอะไร ลองเล่นกับค่าเลขสี #FFFFFF แปลว่าอะไร)

 

เราทำเก็บไว้ดูเองเรื่อยๆ เป็นคลังสีส่วนตัว ถ้าว่างจะมาอัพเดตเก็บไว้

 

C.

ทั่วๆ ไปแต่คนอื่นน่าจะแนะนำแล้ว

– เสียเงินซื้อ Dropbox หรือ Google Drive หรือ Cloud Service ใดใด เพื่อเก็บข้อมูลและงานเถอะค่ะ ฮาร์ดดิสก์อาจไม่อยู่กับเราตลอดไป เพื่อชีวิตดีดีที่งานไม่สูญหาย เพราะชีวิตอาจจะพังได้

– ตั้งชื่อไฟล์ให้ค้นหาง่าย เก็บเป็นเวอร์ชั่นชัดเจน ในโฟลเดอร์ที่อ่านเข้าใจง่าย เมื่อก่อนเราชอบตั้งชื่อไฟล์ เอามัน  (ควยยยยยยยยย.psd, finalfinalfinalfinalมั๊ยสาด.ai นี่อย่าทำ ) ค้นหายากสัส ตั้งไว้เผื่อตัวเองในอนาคตเถอะ

 

D.

ถ้าไม่มีเวลาไปสำรวจโลกภายนอก เราชอบท่องโลกทางภาพผ่านการ browse Flickr Commons เป็นคลังภาพขนาดใหญ่ซึ่งรวมได้สแกนภาพถ่ายและหนังสือจากหลายๆ ห้องสมุดทั่วโลก สามารถนำไปใช้คอลลาจได้อย่างถูกลิชสิทธิ์ แต่ภาพจะดูเรโทรหน่อย นอกจากนี้ยังได้ส่องย้อนโลกในอดีต ดู layout การพิมพ์แบบเก่าๆ สมัยที่ยังไม่มี Adobe ในกระบวนการออกแบบ มีหลากหลายวัฒนธรรมให้เลือกชม

flickr

 

Piekungfu

 

Graphic Designer / Studio Marketing Material

“เอาแบบที่ชอบๆ อะครับ ไม่ชอบก็ไม่ต้องทำ

 

เบญจรัตน์ เอี่ยมรัตน์

 

Designer / be>our>friend studio

“เราเป็นคนค่อนข้างเชื่อใจตัวเองนะเวลาทำงาน ส่วนใหญ่เราก็เลยทำตามสัญชาตญาณตัวเองก่อนเลย เวลาเราฟังบรีฟจบ มันมักจะมี first idea ที่มันเด้งขึ้นมา แล้วเราก็เอาตรงนั้นไป explore โดยลองคิดต่อไปเรื่อยๆ เพื่อดูว่ามันไปต่อได้ขนาดไหน หรือมันฟังก์ชันไหม แต่เราจะชอบคิดให้มันมีความยืดหยุ่นมากกว่า ให้มันมีอะไรเข้ามาเติมๆ เสริมๆ ได้ หรือให้คนอื่นเข้ามาช่วยกันเติมความคิด

“พอเราเริ่มรู้สึกว่าความคิดมันใช้ได้ เราก็จะเริ่มเช็กความถูกต้องว่าไอเดียที่เราคิดมันถูกที่ถูกทางไหม เพราะเราก็ชอบความสมเหตุสมผล เราอ่านหนังสือเพิ่มจากเรื่องที่เราคิด หรือบางทีก็ลองไปเดินๆ ดูตามสถานที่ต่างๆ หรือลองดูตัวอย่างงานที่ใกล้ๆ เคียงกัน ก็แล้วแต่งานไปนะ

“ซึ่งเราก็มีปัญหาเวลาจะอธิบายสิ่งที่เราคิดอยู่เหมือนกัน เราใช้วิธีอธิบายด้วยการลองทำเป็นตัวอย่างให้ดูแบบเร็วๆ นะ ว่ามันจะได้ประมาณนี้ เพื่อเป็นการตกลงกันก่อนที่เราจะทำอาร์ตเวิร์คจริงๆ ออกมา แต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นเพราะเรามีนิสัยชอบอ่านหนังสือ ชอบดูหนัง ชอบฟัง หรือชอบค้นคว้าด้วยนะ เลยทำให้วิธีการทำงานของเราเป็นแบบนี้”

 

วัชรพงศ์ แหล่งหล้า

 

 

Art Director / a day magazine

“สำหรับเราที่เนื้องานเป็นกราฟิกนิตยสาร ซึ่งเป็นกราฟิกที่ใช้สื่อสารกับคนที่มีช่วงอายุ เพศ ที่หลากหลายพอประมาณเราเลยจะคิดว่ากราฟิกที่จะออกมาดีควรจะเป็นกราฟิกที่เหมาะสมกับโจทย์หรือเนื้อหานั้นๆ ที่เข้ากับคนหลากหลาย

“โดยส่วนตัวเราว่าวิธีที่เบสิคเลยคือดูงานเยอะๆ ดูเยอะๆ ในที่นี้คือการดูพวกหนังสือรวมงานอาร์ตต่างๆ ของต่างประเทศหรือจากเว็บไซต์ด้วย แต่เราเองหนังสือจะซึมซับเข้าหัวได้ดีกว่า หรือช่วงนี้ที่จะดูบ่อยมากๆ คือ instagram โดยเฉพาะ ig ของ magazine อินดี้ต่างประเทศที่จะโชว์งานแต่ละ issue ซึ่งเขาจะมีเครดิตศิลปินที่เป็น contributor ของงานนั้นๆ เราก็สามารถตามไปดูงานใน instagram ของศิลปินที่เราชื่นชอบงานของเขาได้อีกเป็นทอดๆ ไม่รู้จบ

“ใน instagram มีงานกราฟิกที่หลากหลายให้ดู ทั้งกราฟิกปกติ ทั้งวิดีโออาร์ต ซึ่งวันนึงๆ เราน่าจะเสียเวลาไปกับการกดดูงานใน instagram เป็นชั่วโมงเลย เพราะ instagram สาวๆ สมัยนี้เยอะมาก 555 (นอกเรื่องแล้ว กลับมาๆ) การดูงานแต่ละชิ้นที่ผ่านตาแล้วชอบ เราจะเอามาวิเคราะห์งานนั้นๆ ในเรื่องการตีโจทย์ของศิลปินว่าเขาคิดงานยังไง หรือเทคนิคที่เขาใช้ในแต่ละงาน ซึ่งพอเราดูงานมากๆ เราจะมีข้อมูลกับตัวเองมากๆ และนำไปปรับใช้กับโจทย์งานแต่ละงานให้เหมาะสม เป็นเหตุและเป็นผลกับงานนั้นๆ ก็จะทำให้งานออกมาตอบโจทย์ดี”

 

ThomthongC

 

Graphic Designer / theCOMMONS และเจ้าของเพจ My Curator Collections

“ถ้าส่วนตัวมากๆ คือจะชอบเทสอะไรเก่าๆ วินเทจๆ เวลาคิดไอเดียหรือวิธีการไม่ออก จะไปหาอะไรใหม่ๆจากสิ่งเก่าๆ นี่แหละ เช่น หนังเก่าๆ ร้านหนังสือเก่า บางเล่มซื้อมาแสกนเก็บไว้ หรือถ้ามีเวลาไม่มาก จะหาจากเว็ปไซต์ทั้งหลายที่เค้าแสกน layout สิ่งพิมพ์ยุคในยุคต่างๆ ไล่ๆ ดูแล้วเอามาประกอบกันกับไอเดียของเรา สุดท้ายชิ้นงานมันก็ถูกเล่าผ่านตัวเราอีกทีนึง ที่อาจจะมีส่วนประกอบของความเก่านี้สักจุดในงาน ป.ล. มักจะชอบเจอสิ่งน่าสนใจระหว่างทาง พวกนี้เป็นข้อมูลในการทำงานครั้งต่อๆ ไปได้เสมอ”

 

ณัฐจรัส เองมหัสสกุล

 

 

Creative Director / Co-Founder : Studio Dialogue

“แสวงหาความรู้ซึ่งง่ายที่สุดก็คือการอ่านหนังสือ เพราะถึงแม้ว่าเราจะเป็นดีไซเนอร์แต่ดีไซเนอร์ที่เข้าใจเนื้อหาก็จะสามารถออกแบบงานที่ตรงกับวัตถุประสงค์ได้มากกว่าดีไซเนอร์ที่ออกแบบได้สวยเพียงอย่างเดียว”

 

ที่มา – thematter.co

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save