เช็กลิสต์คนโสดปลายปี อย่าลืม! ตัวช่วย! เพื่อรับเงินคืน

ใกล้สิ้นปีแล้ว คนโสดก็มักจะวางแพลนต่างๆ ไว้ในใจไม่ว่าจะเป็นทริปพักผ่อนท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาวเตรียมงานปาร์ตี้ต้อนรับปีใหม่กับเพื่อนและครอบครัว หรือซื้อของขวัญชิ้นพิเศษให้กับตัวเองและคนที่รักช่วงลั้นลาที่หลายคนกำลังมีความสุขแบบนี้ ME ก็อยากจะมาย้ำเตือนว่านอกจากแพลนสร้างความสุขปลายปีแล้ว อย่าลืมแพลนด้านการเงินเพื่อเตรียมลดหย่อนภาษีกันด้วย หลายคนพลาดข้ามปีมาแล้วเพิ่งนึกขึ้นได้ เงินก้อนโตที่จะประหยัดได้ก็หายไปอย่างน่าเสียดาย

ME Tips ตอนนี้ ME ขอเอาใจคนโสด ด้วยการทำเช็กลิสต์ปลายปีรายการลดหย่อนภาษีสำหรับคนโสดโดยเฉพาะลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้างปกติแล้วรายการลดหย่อนภาษีของคนโสด หลักๆ ก็จะมีการลดหย่อนค่าใช้จ่ายส่วนตัว 60,000 บาท ลดหย่อนบิดาและมารดาคนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าบิดาและมารดาต้องมีอายุเกิน 60 ปี และไม่มีรายได้นอกจากนี้ ก็จะมีลดหย่อนประกันสังคมตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท สำหรับรายการที่จะเขียนถึงต่อไปนี้เป็นรายการที่ทั้งคนโสดและไม่โสดสามารถนำมาลดหย่อนเพิ่มเติมได้โดยนำใบเสร็จหรือใบรับรองการชำระเงินมาเป็นหลักฐานในการขอลดหย่อนซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเงินในการจ่ายภาษีได้มากขึ้น มีหลายรายการด้วยกันดังนี้

๏ ประกันชีวิต
การซื้อประกันชีวิตที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จะต้องมีเวลาความคุ้มครองตามกรมธรรม์ 10 ปีขึ้นไป โดยสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 1 แสนบาท เช่น ME SURE ประกันชีวิต 10/5 จ่ายเบี้ยสั้น 5 ปี คุ้มครองชีวิต 10 ปี จ่ายเบี้ยเริ่มต้นที่25,000 บาท ซื้อได้ง่ายผ่านแอป ME สามารถนำเบี้ยมาลดหย่อนได้เต็มจำนวนเลย

๏ ประกันสุขภาพ ประกันประเภทนี้สามารถซื้อให้กับตัวเองและบิดามารดาได้คนละ 15,000 บาท โดยในส่วนของตัวเอง ยอดประกันสุขภาพ 15,000 บาทนี้จะคิดรวมอยู่ในยอด 1 แสนบาทของประกันชีวิต

๏ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในปีภาษีนั้น และเมื่อรวมเข้ากับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และประกันชีวิตแบบบำนาญทั้งหมดนี้ต้องไม่เกิน 5 แสนบาท

๏ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF) ลดหย่อนได้ 15% แต่ไม่เกิน 5 แสนบาทซึ่งสิทธิลดหย่อนนี้จะใช้ได้เป็นปีสุดท้ายแล้ว สำหรับปีหน้าก็เตรียมพบกับกองทุนประเภทใหม่ คือ กองทุนรวมเพื่อการออม(Super Saving Fund หรือ SSF) ให้สิทธิการลดหย่อนภาษีสูงถึง 30% เทียบกับกองทุน LTF ที่ให้สิทธิลดหย่อนเพียง 15% แต่กองทุน SSF ใช้สิทธิลดหย่อนได้ไม่เกิน 2 แสนบาทต่อปี และเมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) ต้องไม่เกิน 5 แสนบาทต่อปี และกองทุนนี้ต้องถือลงทุนอย่างน้อย 10 ปี

๏ บ้านหลังแรก รัฐบาลประกาศออกมาใช้ในปี 2562 เป็นปีแรก
และใช้สิทธิได้ปีนี้ปีเดียวเท่านั้นโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องซื้อบ้านพร้อมที่ดินหรือคอนโดมิเนียมและเป็นบ้านหลังแรกที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 แสนบาท จะใช้สิทธิได้เมื่อต้องโอนกรรมสิทธิ์แล้วเท่านั้น

๏ ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน สำหรับคนที่กู้เงินจากสถาบันการเงิน จะกี่หลังก็ได้แต่รวมกันแล้วนำดอกเบี้ยมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 1 แสนบาทหากมีการกู้ร่วมก็ต้องหารแบ่งกันไปตามจำนวนผู้กู้ร่วมด้วย

๏ ซ่อมรถหรือบ้านที่ประสบภัยพิบัติ นำมาลดหย่อนได้ 1 แสนบาท สำหรับการซ่อมบ้าน และ 30,000 บาทสำหรับการซ่อมรถ

๏ ลงทุนใน Startup รายการลดหย่อนนี้รัฐบาลประกาศขึ้นมาเพื่อให้สนับสนุนการลงทุนของกลุ่ม Startup โดยลดหย่อนได้ 1 แสนบาท

๏ ท่องเที่ยวเมืองหลักหรือเมืองรอง ลดหย่อนค่าที่พักโรงแรม โฮมสเตย์ หรือแพ็คเกจทัวร์ สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาทสำหรับเมืองหลัก และ 20,000บาทสำหรับเมืองรอง

๏ ช้อปช่วยชาติ ลดหย่อนได้ 15,000 บาทโดยปีนี้ลดหย่อนได้เฉพาะอุปกรณ์การศึกษา อุปกรณ์กีฬาสินค้าโอทอป และหนังสือทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) และหนังสือเล่ม

๏ เงินบริจาค ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 10% ของเงินรายได้สุทธิที่ที่หักลดหย่อนแล้ว และหากบริจาคให้กับสถานศึกษาการกีฬา การพัฒนาสังคม โรงพยาบาลของรัฐ จะลดหย่อนได้ 2 เท่าของยอดเงินที่บริจาค แถมให้อีกนิด สำหรับคนโสดที่ไม่อยากโสดแล้ว ME ก็ขอเพิ่มเช็กลิสต์รายการสำหรับคนมีคู่มาเพื่อพิจารณาวางแผนลดหย่อนภาษีเพิ่มได้อีก คือ กรณีที่จดทะเบียนสามารถลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาทหากคู่ของเรามีบิดามารดาที่อายุเกิน 60 ปี และไม่มีเงินได้สามารถนำมาลดหย่อนได้อีกคนละ 30,000 บาท และอีกหน่อย
ถ้าหากมีลูกก็สามารถลดหย่อนค่าใช้จ่ายของลูกได้ทั้งหมด 4 คน คนละ 30,000 บาท ได้จนลูกอายุ 25 ปี ดูเช็กลิสต์ที่ ME นำมาฝากแล้ว เป็นอย่างไรกันบ้าง หลงลืมอะไรไปบ้าง ยังพอมีเวลา รีบหาตัวช่วยหรือวางแผนซื้อเพิ่มเติม เช่น ประกันชีวิต, LTF, RMF เป็นต้น รีบจัดการให้เรียบร้อยก่อนสิ้นปี ยื่นลดหย่อนภาษีต้นปีหน้า รับรองว่าจะได้เงินภาษีคืนอีกไม่น้อย

ข้อมูลจาก : https://www.mebytmb.com/blog/view/metips2.html

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save