สภาผู้บริโภค จี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมประมง เร่งชี้แจงมาตราการ
สภาผู้บริโภค จี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมประมง เร่งชี้แจงมาตราการและแนวทางการป้องกันและตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น
สภาผู้บริโภค จี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมประมง เร่งชี้แจงมาตราการและแนวทางการป้องกันและตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น หลังมีข่าวญี่ปุ่นจะปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีที่บำบัดแล้วลงทะเลในวันนี้ หวั่นผู้บริโภครับประทานอาหารทะเลปนเปื้อนสารอันตรายอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ (อ่านต่อhttps://bit.ly/3OTqsJY)
.
จากกรณีที่ประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีที่บำบัดแล้วจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะไดอิจิตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2566 แม้ได้รับการรับรองจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ ว่า การปล่อยน้ำเสียดังกล่าวจะปลอดภัยและสอดคล้องกับมาตรฐานโลก แต่แผนดังกล่าวของญี่ปุ่นเผชิญกับการต่อต้านจากทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารทะเล และสุขภาพของผู้บริโภค
.
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ภก.ภาณุโชติ ทองยัง ประธานอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ สภาผู้บริโภค เรียกร้องให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมประมง เร่งออกชี้แจงถึงมาตรการป้องกันและตรวจสอบ พร้อมทั้งแนวทางการรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งต้องสุ่มตรวจอาหารทะเลที่หน้าด่านและในท้องตลาดที่นำเข้าจากน่านน้ำต่างประเทศหลังการปล่อยน้ำเสียเพื่อนำมาตรวจวัดกัมมันตภาพรังสี
.
และขอให้แจ้งประชาสัมพันธ์การดำเนินการดังกล่าวให้ผู้บริโภคทราบด้วย เพื่อเป็นการจัดการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และคลายความกังวลของผู้บริโภคกรณีอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี ที่แม้ไม่เกิดอาการทันทีแต่อาจจะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้
.
ทั้งนี้ ประเทศจีน เกาะฮ่องกง และประเทศเกาหลีใต้ ได้ออกมาตรการงดการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากประเทศญี่ปุ่น โดยงดผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทั้งมีชีวิต แช่แข็ง แช่เย็น อบแห้ง รวมถึงเกลือทะเล รวมถึงสาหร่ายทะเล แต่จนถึงขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไรทั้งที่เป็นประเทศนำเข้าสินค้าประมงจากญี่ปุ่นอันดับต้นๆ
.
#สภาผู้บริโภค #สภาองค์กรของผู้บริโภค #ผู้บริโภค
#ฟูกูชิมะ #น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี