สุดยอด! นักวิจัยใช้ปัญญาประดิษฐ์ วินิจฉัยโรคสมองเสื่อมล่วงหน้า 10 ปีได้แล้ว

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ มีพลังการคิดวิเคราะห์ที่เร็วและแม่นยำกว่าสมองมนุษย์หลายร้อยเท่าดังนั้น จึงทำให้ เรานำมันมาใช้งานในด้านต่างๆ ตั้งแต่ ด้านการผลิต การบัญชี หรือแม้แต่กระทั่ง ด้านการแพทย์ ก็มีแนวโน้มที่จะนำมาใช้วินิจฉัยโรคต่างๆ ในอนาคตอันใกล้นี้

 

เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบารี ในประเทศอิตาลี ได้พัฒนาอัลกอริทึมที่นำไปใช้กับ ปัญญาประดิษฐ์ “เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสมอง และวินิจฉัยโอกาสที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมล่วงหน้า 10 ปี” โดยนักวิจัยได้นำเอาผลสแกนสมองของ ผู้ป่วยสมองเสื่อม 38 คน และคนปกติที่มีสุขภาพดี 29 คน มาให้ ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์แยกแยะ และเปรียบเทียบความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ของเซลล์ประสาท เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนวิเคราะห์แล้ว ก็ลองนำผลสแกนสมองคนปกติ ให้มันวินิจฉัย ผลปรากฏว่าใน 148 คน มีจำนวน 48 คน หรือ 1 ใน 3 ที่มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมในอีก 10 ปีข้างหน้า

จากข้อมูลในปัจจุบัน ปัญญาประดิษฐ์สามารถวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม ได้แม่นยำถึง 86 เปอร์เซ็นต์ แต่น่าเสียดายที่การตรวจโรคสมองเสื่อม ด้วยปัญญาประดิษฐ์นั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริงๆ ยังต้องศึกษา และพัฒนาเพื่อเพิ่มความแม่นยำ ในการวินิจฉัยโรคให้มากกว่านี้ ไม่แน่ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราอาจจะได้เห็นเจ้าปัญญาประดิษฐ์ตัวนี้มาใช้งานตามโรงพยาบาลต่างๆ ก็เป็นได้

 

เกร็ดความรู้ : “โรคอัลไซเมอร์” หรือ “ภาวะสมองเสื่อม” มักพบในผู้สูงอายุช่วง 40 ปีขึ้นไป และจะพบได้มากที่สุดในช่วงอายุ 80 ปี โดยจะแยกตามความรุนแรงของอาการได้ทั้งหมด 4 ระยะ ก็คือ

  1. ระยะก่อนสมองเสื่อม : ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืมเล็กๆ น้อยๆ และมักจะคิดว่าเกิดจากวัยชรา หรือความเครียด ระยะนี้กินเวลาประมาณ 8 ปี ก่อนจะเริ่มออกอาการหนักๆ (ในระยะเวลานี้ เหมาะแก่การรักษาเป็นอย่างมาก)
  2. สมองเสื่อมระยะแรก : ระยะนี้จะเริ่มวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการที่เห็นได้ชัดคือ พูดจาติดขัด อ่านเขียนไม่คล่องเหมือนเดิม
  3. สมองเสื่อมระยะกลาง : ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำอะไรที่ซับซ้อนได้เลย พร้อมกับอาการพูดผิดๆ ถูกๆ จำชื่อของญาติไม่ได้ เห็นภาพหลอน แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว
  4. สมองเสื่อมระยะสุดท้าย : ผู้ป่วยจะไม่สามารถดูแลตัวเองได้แล้ว ต้องพึ่งผู้ดูแลอย่างเดียว ไม่สามารถพูดตอบโต้กับคนอื่นได้ นี่เป็นขั้นสุดท้ายก่อนมีอาการแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิต

 

ที่มา – news.thaiware.com , engadget , th.wikipedia.org

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save